Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2510
Title: The Managerial Integrated Care Model for Pregnant Woman in Amnat Chareon Province
รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการดูแลแบบบูรณาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดอำนาจเจริญ
Authors: Chadarat Kaewviengdach
ชฎารัตน์ แก้วเวียงเดช
Songkhamchai Leethongdissakul
สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล
Mahasarakham University
Songkhamchai Leethongdissakul
สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล
songkramchai.l@msu.ac.th
songkramchai.l@msu.ac.th
Keywords: รูปแบบ
การพัฒนาคุณภาพ
การดูแลหญิงตั้งครรภ์
Model
quality development
care for pregnant women
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was to investigate the development model for integrated care for pregnant women in Amnat Charoen Province. Mixed methods with 3 phases were employed. Phase 1: Analyzing the context and problems and investigating the factors related to care for pregnant women and the health care needs of pregnant women: a questionnaire, and interviews were used for data collection.   The samples consisted of 3 groups: 105 stakeholders, 140 postpartum mothers and 160 pregnant women. Phase 2: Developing a development model for integrated care for pregnant women: Data were collected through meeting minutes, observations and group discussions. The samples were 265 stakeholders from 3 networks: the people’s network; the professional organization and the local administrative organization. Phase 3: Evaluating the project: Observations and records were administered. The samples were 265 stakeholders from 3 networks. Data were analyzed by descriptive statistics: frequency, percentage, mean and standard deviation, Pearson  correlation coefficient and stepwise multiple regression. Typological analysis and analytic induction were employed for qualitative data. The research results revealed that the activities that can improve the quality of care for pregnant women included providing academic knowledge or information to pregnant women (mean = 4.10, S.D. = 0.149); using information technology to increase access to health information  (mean = 2.42), the administrators at all levels recognizing the importance and setting clear policies to create cooperation among medical personnel and develop medical personnel’s potential (mean = 2.43) and providing proactive assistance and services from the local networks such as village health volunteers, Tambon Health Promotion Hospitals and local administrative organizations, along with clear referral guidelines (mean  = 4.14, S.D. = 0.169). The factors significantly related to health care behavior of pregnant women at the 0.05 level were knowledge about self-care (r = 0.23, p < 0.01), attitude towards self-care (r = 0.52, p < 0.01), access to the health service system (r = 0.366, p < 0.01), perceived services from public health personnel (r = 0.181, p < 0.05), perceived benefits of prenatal care and self-care ( r = 0.303, p < 0.01), perceived obstacles to self-care during pregnancy (r = 0.157, p < 0.05), perceived risk and severity (r = 0.182, p < 0.01), self-efficacy (r = 0.396, p < 0.01) and perceived social support (r = 0.182, p < 0.05). 1) Access to the health care system can predict health care behavior among pregnant women by 17% (R2= 0.173, p < 0.001).   2) Perceived risk and severity can predict health care behavior among pregnant women by 23% (R2 = 0.237, p < 0.001). 3) Perceived social support can predict health care behavior among pregnant women by 26%. (R2 = 0.262, p < 0.001). Based on the findings, it is recommended that all parties involved in monitoring the health of mothers and children should organize activities that increase health literacy to promote the potential of self-care of pregnant women which can be shared with other people, family and community.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการดูแลแบบบูรณาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดอำนาจเจริญ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี มี 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และความต้องการในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 105 คน มารดาหลังคลอด จำนวน 140 คน และหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 160 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการดูแลแบบบูรณาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ โดยใช้การบันทึกรายงานการประชุม การสังเกต สนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจาก 3 เครือข่าย คือ เครือข่ายประชาชน องค์กรวิชาชีพ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 265 คน และระยะที่ 3 ระยะประเมินผลโครงการ จากการสังเกต และการบันทึก กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจาก 3 เครือข่าย จำนวน 265 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ  โดยการจำแนกประเภทข้อมูล ประมวลความเชื่อมโยงและสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย รูปแบบหรือกิจกรรมที่สามารถพัฒนาคุณภาพการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ การให้ความรู้ทางวิชาการหรือข่าวสารแก่หญิงตั้งครรภ์ (mean = 4.10, S.D. = 0.149) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ (mean = 2.42) ผู้บริหารทุกระดับเห็นความสำคัญและกำหนดนโยบายชัดเจน สร้างความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์และการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ (mean = 2.43) การให้ความช่วยเหลือเชิงรุกและการบริการของเครือข่ายระดับพื้นที่ เช่น อสม. รพ.สต. อปท. พร้อมทั้งมีแนวทางการส่งต่อที่ชัดเจน (mean = 4.14, S.D. = 0.169) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง (r = 0.23, p < 0.01) ทัศนคติต่อการดูแลตนเอง (r = 0.52, p < 0.01) การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ (r = 0.366, p < 0.01) การรับรู้เกี่ยวกับบริการที่ได้รับจากบุคลากรสาธารณสุข (r = 0.181, p < 0.05) การรับรู้ประโยชน์การฝากครรภ์และการดูแลตนเอง  (r = 0.303, p < 0.01) การรับรู้อุปสรรคการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ (r = 0.157, p < 0.05) การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรง (r = 0.182, p < 0.01) การรับรู้ความสามารถในตนเอง (r = 0.396, p < 0.01) และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (r = 0.182, p < 0.05) การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ เป็นตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 17 (R2 = 0.173, p < 0.001) 2) การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรง เป็นตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 23 (R2 = 0.237, p < 0.001) และ 3) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 26 (R2 = 0.262, p < 0.001) ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ คือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดูสุขภาพแม่และเด็ก ควรจัดกิจกรรมที่เพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการดูแลตนเองด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และบอกต่อไปสู่บุคคลอื่น ครอบครัวและชุมชนได้
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2510
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011460001.pdf9.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.