Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2512
Title: Structures, phytochemicals and element accumulation of herbal Kratai Cham (Adenosma indianum (Lour.) Merr) in saline soil area, Yang Talat district, Kalasin province
โครงสร้าง พฤกษเคมี และการสะสมแร่ธาตุของสมุนไพรกระต่ายจาม (Adenosma indianum (Lour.) Merr) ในพื้นที่ดินเค็ม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
Authors: Woraporn Laojinda
วรพร เหล่าจินดา
Piyanut  Khanema
ปิยนุช คะเณมา
Mahasarakham University
Piyanut  Khanema
ปิยนุช คะเณมา
piyanoot_kh@hotmail.com
piyanoot_kh@hotmail.com
Keywords: ค่าการสะสมทางชีวภาพ
ค่าการเคลื่อนย้าย
โพรลีน
โซเดียม
วัฏจักรชีวิต
bioconcentration factor
translocation factor
proline
sodium
life cycle
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Kratai Cham is a medicinal plant in Thai traditional medicine with therapeutic properties in inhibiting bacteria, anti-inflammatory, diuretic, fever, vertigo, dyspepsia and treating jaundice in viral hepatitis. The daily dose for suggestion should not exceed 10 - 20 g of shoots in decoction. Because of expansions of urban and agricultural areas, the plant population was reduced. However, from the preliminary survey, it was found that there was more distribution of Kratai Cham in saline soils at Klong Kham Subdistrict and Hua Na Kham Subdistrict, Yang Talat District, Kalasin Province. Including being valid for biological information and medical uses, this research aimed to study the life cycle, ecology, morphology, epidermal leaf anatomy, preliminary examination of phytochemicals, and salt ion accumulation of Kratai Cham growing in the saline soil areas, and also influenced of seasons on morphology and phytochemicals. The results of life cycle studies during 2019 - 2022 found that the plant grew from July to February yearly. It grew in open areas or at the ecotone between forests and open areas in non-saline soils (0 – 2 dS/m) to slightly saline soils (2 – 4 dS/m). Leaves showed specific characteristics of 3 - 4 multicellular-uniseriate hairs and two types of glandular trichomes (peltate and capitate). Phytochemicals in leaves were more outstanding than in roots, stems, and fruits, which found at least eight groups such as flavonoids, phenolics, alkaloids, coumarins, saponins, tannins, terpenoids, and anthraquinones. Sodium contents accumulated in the leaves of the plant grown in slightly saline soil were lower than that in non-salinity saline soil (0.63 < 1.54 g Na/kg), as well as the shoots (1.46 < 2.37 g Na/kg). The principal component analysis showed that season strongly influenced growth, especially in the dry season, in which chlorophyll a, carotenoids, and proline played a significant role. As a result, it alleviated concerns about boiling Kratai Cham's shoot from the slightly saline soils. Because even if using a dose of 20 g, there will be no more than 0.03 g Na in the decoction.
กระต่ายจามเป็นพืชสมุนไพรในตำหรับแพทย์แผนไทยโบราณที่มีฤทธิ์โดดเด่นในการยับยั้งแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ บรรเทาอาการท้องอืดและรักษาโรคดีซ่านในไวรัสตับอักเสบ โดยมีวิธีการใช้คือนำส่วนลำต้นเหนือดินขนาดไม่เกิน  10 - 20 g มาต้มดื่มต่อวัน อย่างไรก็ตาม การแพร่กระจายพันธุ์ของกระต่ายจามในปัจจุบันมีจำนวนลดลงอย่างมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการขยายตัวของชุมชนและภาคการเกษตรในพื้นที่ อย่างไรก็ดี จากการสำรวจเบื้องต้นพบการแพร่กระจายพันธุ์ของกระต่ายจามในพื้นที่ดินเค็ม ตำบลคลองขามและตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ค่อนข้างมาก เพื่อให้เกิดความชัดเจนของข้อมูลทางชีววิทยา รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานทางการแพทย์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฏจักรชีวิต นิเวศวิทยา สัณฐานวิทยา  กายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อชั้นผิวใบ การตรวจสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้น และการสะสมทางชีวภาพของไอออนเกลือของกระต่ายจามที่เจริญเติบโตในพื้นที่ดินเค็มดังกล่าว รวมถึงศึกษาอิทธิพลของฤดูกาลที่มีต่อสัณฐานวิทยาและสารชีวเคมี ผลการศึกษาวัฏจักรชีวิตในช่วงปี พ.ศ. 2562 – 2565 พบว่ากระต่ายจามมีการเจริญเติบโตในช่วงเดือนกรกฎาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยพบการเจริญในพื้นที่โล่งหรือเขตรอยต่อระหว่างป่ากับพื้นที่โล่งทั้งในดินที่ไม่เค็ม (0 – 2 dS/m) จนกระทั่งถึงดินเค็มระดับเค็มน้อย (2 – 4 dS/m) และพบลักษณะพิเศษคือใบมีเซลล์ขนที่ประกอบด้วย 3 – 4 เซลล์เรียงต่อกันเป็นแถวเดียว และมีขนต่อม  2 ชนิด (ขนรูปโล่และขนแคปปิเตต) พบว่าใบมีการสังเคราะห์สารพฤกษเคมีมากกว่าราก ลำต้น และผล โดยพบสารพฤกษเคมีอย่างน้อย 8 กลุ่ม ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ ฟีนอลิก อัลคาลอยด์ คูมารินส์ ซาโปนิน แทนนิน เทอร์ปีนอยด์และแอนทราควิโนน ใบของต้นกระต่ายจามในพื้นที่ดินเค็มน้อยมีการสะสมโซเดียมต่ำกว่าในพื้นที่ดินไม่เค็ม (0.63 < 1.54 g Na/kg) รวมถึงส่วนของลำต้นเหนือดินเช่นเดียวกัน (1.46 < 2.37 g Na/kg) และผลการวิเคราะห์ principal component analysis พบว่าฤดูกาลมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของกระต่ายจาม โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งคลอโรฟิลล์เอ แคโรทีนอยด์ และโพรลีนจะมีบทบาทอย่างยิ่ง จากผลการวิจัยช่วยลดข้อกังวลในการนำลำต้นเหนือดินต้นกระต่ายจามจากพื้นที่ดินเค็มน้อยมาต้มดื่ม เนื่องจากแม้ว่าจะใช้ขนาด 20 g ก็จะมีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 0.03 g Na
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2512
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010256003.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.