Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2515
Title: A DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITY BASED ON PROBLEM BASED LEARNING AND ETHICAL DILEMMAS FOR PROMOTING SCIENCE PROBLEM SOLVING ABILITY OF MATTHAYOMSUKSA 4 STUDENTS
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Piyatida Thaochalee
ปิยธิดา เถาว์ชาลี
Prasart Nuangchalerm
ประสาท เนืองเฉลิม
Mahasarakham University
Prasart Nuangchalerm
ประสาท เนืองเฉลิม
prasart.n@msu.ac.th
prasart.n@msu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน, ประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
problem-based learning/ ethical dilemmas/ achievement/ scientific problem-solving ability
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to compare the achievement after using problem-based learning with ethical dilemmas on genetic variation and biotechnology with the criteria of 70 percent, 2) to compare the ability to think about solving scientific problems after learning from problem-based learning with ethical dilemmas with the criteria of 70 percent, and 3) to study satisfaction with problem-based learning with ethical dilemmas on genetic variation and biotechnology. The sample used in this research were 38 Mathayomsuksa 4 students in the academic year 2022 at Phadungnaree School. The research instruments were 1) learning plans, The experiment lasted for 7 periods. 2) Achievement test on genetic variation and biotechnology. 3) A science problem solving ability test the ability to think about solving scientific problems. and 4) Satisfaction Questionnaire for learning management. Data were analyzed using mean, percentage, standard deviation. and t-test. The results of the research were as follows 1) the achievement of Mathayomsuksa 4 students receiving problem-based learning with ethical dilemmas after learning was not different from the criterion of 70 percent at a statistical significance level of .05, 2) the scientific problem solving ability of Mathayomsuksa 4 students who received a problem-based learning with ethical dilemmas were not different from the criterion of 75 percent at a statistical significance level of .05, and 3) the students were satisfied with the problem-based learning with ethical dilemmas at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรม เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรมกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรม เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 38 คน ที่กำลังศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนผดุงนารี เครื่องมือใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรม เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ รวมระยะเวลา 7 สัปดาห์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ  3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์  4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรมหลังเรียนไม่แตกต่างจากเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรมหลังเรียนไม่แตกต่างจากเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2515
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010552012.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.