Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/253
Title: Development of Prevention and Control of Tuberculosis Model in Thabo, Thabo District, Nongkhai Province.
การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรค ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
Authors: Chalermkiat Tatami
เฉลิมเกียรติ ตาตะมิ
Terdsak Promarak
เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
เทคโนโลยีการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมในชุมชน
วัณโรค
Model of development
Technology of participation
community participation
tuberculosis
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research was aimed to develop a model for the prevention and control of tuberculosis of Tha Bo Sub- District, Tha Bo District, Nong Khai Province. Participants were selected from a random criteria of 70 people. Data was collected both quantitative and qualitative by questionnaire. Quantitative data was analyzed using by frequency, percentage, mean, standard deviation and paired Sample t-test. Qualitative analyzed by content. The research found that the development of this model has 9 stages: 1) Problems analysis, 2) Workshop using the participation, 3) Plan to action, 4) Sub-District representatives training, 5) TB alert notification and attention for Tuberculosis, 6) Environmental Management, 7) Empower to the TB patient, 8) Supervision of operations, 9) Knowledge exchange and lessons learned. These results found that a group had an average score of knowledge, participation and satisfaction on TB prevention and control increased significantly (p-value <0.05). The development resulted in a primary prevention and control model for tuberculosis called THABO Model. In conclusions, the key success factors were comprised of intensive community monitoring and home care with their network. Additionally, they have to arrange, all activities with intensive care and continuously community empowerment as well.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในพื้นที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยการสุ่มตามเกณฑ์ จำนวน 70 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานคือ Paired Sample t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบครั้งนี้ มี 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์ปัญหาในพื้นที่ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) กิจกรรมอบรมผู้แทนวัณโรคระดับตำบล 5) กิจกรรมแจ้งข่าวเตือนภัยใส่ใจวัณโรค 6) กิจกรรมจัดการสิ่งแวดล้อม 7) กิจกรรมเสริมพลังใจให้ผู้ป่วยวัณโรค 8) การนิเทศ ติดตามการดำเนินงาน 9) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน กระบวนการดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ย ด้านความรู้ การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมวัณโรคเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) จากการพัฒนาทำให้เกิดรูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคเบื้องต้นเรียกว่า THABO Model สรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากการมีระบบกำกับติดตามที่ดี โดยการติดตามดูแลผู้ป่วยถึงบ้านด้วยเครือข่ายที่ร่วมมือกันทั้งหน่วยบริการและชุมชน และมีกิจกรรมการเสริมสร้างกำลังใจและใส่ใจอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/253
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58031480003.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.