Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2534
Title: Program of Developing Growth Mindset for Enhancing Learning Management of Teachers in the Primary School under the Office of the Basic Education Commission
โปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Tantikorn Khunaprom
ตันติกร ขุนาพรม
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
wittaya.c@msu.ac.th
wittaya.c@msu.ac.th
Keywords: กรอบความคิดแบบเติบโต
โปรแกรมการพัฒนา
ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Growth mindset
Developing Program
Primary School Teacher under the Office of the Basic Education Commission
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the components and indicators of a growth mindset to strengthen the learning management of primary school teachers; 2) to study the current condition, desirable conditions, and needs necessitate the development of a growth mindset to strengthen the learning management of primary school teachers; 3) to develop a growth mindset development program to strengthen the learning management of primary school teachers, and 4) to study the effects of the Growth Conceptual Development Program to strengthen learning management of primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission. The research methodology is divided into 4 phases. The samples used in each phase of research are Phase 1 experts. 9 persons, 5 experts in instrument inspection, 433 primary school teachers. Phase 2: 427 primary school teachers, Phase 3: 10 qualified persons, and Phase 4: the primary school teachers who are the target group of 15 people. Data collection tools include questionnaires, measurements, interviews, assessments, and observations. Statistics used in data analysis include Frequency, Percentage, Average, and Standard Deviation, Confirmatory Component Analysis, and Modified Priority Needs Index (PNImodified)             The results of the research showed that: 1. Elements and indicators of growth mindset to strengthen learning management of primary school teachers. There are    6 Components :1) Developing Paradigm 2) Learning Effort 3) Learning Challenges 4) Accepting Criticism 5) Inspired by the Success      6) Accepting Failure. A total of 21 Indicators. 2. The current condition in the development of a growth mindset to strengthen the learning management of primary school teachers. The overall desirable condition is to a large extent. When considering the necessary needs, it was found that at the level of necessity, all elements need to be developed. When prioritizing the need for improvement based on PNImodified, it was found that acceptance of criticism needed to be developed the most, followed by Acceptance of Failure. Learning Efforts, Learning Challenges, Development Paradigms, and Lowest are Motivations for Success, respectively. 3. Creating a growth mindset development program to strengthen the learning management of primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission, there are 7 components: These include: 1) Principles and Reasons 2) Goals 3) Objectives 4) The scope of content used in development consists of 6 modules: Module 1: Development Paradigm, Module 2: Learning Efforts, Module 3: Learning Challenges,  Module 4: Accepting Criticism, Module 5: Inspired by the Success, and Module 6: Acceptance of Failure with a development period of 120 hours. 5) Methodology Development, 6) Media Development, and 7) Measurement and Evaluation.  Conformity assessment results of development programs Assessment of the development program on usefulness and suitability. The feasibility and results of the manual for the development of a growth framework program to strengthen the learning management of primary school teachers are at the highest level. 4. A study on the effect of using growth mindset development programs to strengthen learning management among primary school teachers. Under the Office of the Basic Education Commission, it was found that 1) teachers who voluntarily undergo development; Knowledge and understanding of the higher growth mindset before entering the development Statistically significant at .01, the results reflect the success of the participants from the integration of development programs into their operations 6 modules. The participants develop a growth mindset to strengthen learning management. It can be used to improve students' learning as well as have the highest level of satisfaction with the use of the program.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา 4) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในแต่ละระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  9 คน  ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือ  จำนวน 5 คน ครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 433 คน ระยะที่ 2 ครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 427 คน ระยะที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน และระยะที่ 4 ครูโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน  15 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบวัด แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ Modified Priority Needs Index (PNImodified)            ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา มีทั้งหมด  6 องค์ประกอบ ได้แก่  1) การมีกระบวนทัศน์การพัฒนา 2) ความพยายามการเรียนรู้ 3) ความท้าทายในการเรียนรู้  4) การยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ 5) การสร้างแรงบันดาลใจจากความสำเร็จ 6) การยอมรับความล้มเหลว รวมทั้งหมด 21 ตัวบ่งชี้  2. สภาพปัจจุบันในการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็น พบว่าอยู่ในระดับมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนาทุกองค์ประกอบ เมื่อจัดลำดับความจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนา โดยพิจารณาจากค่า PNImodified พบว่า ด้านการยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์  มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการยอมรับความล้มเหลว ด้านความพยายามในการเรียนรู้ ความท้าทายในการเรียนรู้  ด้านการมีกระบวนทัศน์การพัฒนา และต่ำที่สุดคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจจากความสำเร็จตามลำดับ ตามลำดับ 3. การสร้างโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) เป้าหมาย 3) วัตถุประสงค์ 4) เนื้อหาที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วย 6 โมดูล ได้แก่ โมดูลที่ 1 การมีกระบวนทัศน์การพัฒนา โมดูลที่ 2 ความพยายามการเรียนรู้ โมดูลที่ 3 ความท้าทายในการเรียนรู้  โมดูลที่ 4 การยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์  โมดูลที่ 5 การสร้างแรงบันดาลใจจากความสำเร็จ  และโมดูลที่ 6 การยอมรับความล้มเหลว โดยใช้ระยะเวลาในการพัฒนา จำนวน 120  ชั่วโมง  5) วิธีการพัฒนา 6) สื่อที่ใช้ในการพัฒนา และ 7) การวัดและการประเมินผล  ผลการประเมินความสอดคล้องของโปรแกรมการพัฒนา  ผลการประเมินโปรแกรมการพัฒนาด้านความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสมความเป็นไปได้ และผลการจัดทำคู่มือการใช้โปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด  4. การศึกษาผลการใช้โปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า 1) ครูที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบความคิดแบบเติบโตสูงกว่าก่อนเข้ารับการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ผลการสะท้อนความสำเร็จของผู้เข้ารับการพัฒนาจากการนำโปรแกรมการพัฒนาไปบูรณาการสอดแทรกในการปฏิบัติงาน จำนวน 6 โมดูล พบผู้เข้ารับการพัฒนาสามารถพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ได้ และสามารถนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้  รวมทั้งมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2534
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010562024.pdf30.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.