Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2542
Title: The Development of Unplugged Coding Learning Activities that Promote Computational Thinking for Primary 1 Students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Authors: Kathin Niyomtham
กฐิน นิยมธรรม
Titiworada Polyiem
ฐิติวรดา พลเยี่ยม
Mahasarakham University
Titiworada Polyiem
ฐิติวรดา พลเยี่ยม
titiworada.p@msu.ac.th
titiworada.p@msu.ac.th
Keywords: การจัดกิจการเรียนรู้
การเขียนโปรแกรมโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์
การคิดเชิงคำนวณ
Learning Activity
Unplugged Coding
Computational Thinking
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of the research article were 1. To develop learning activities with unplugged coding that promote computational thinking. For grade 1 students with a performance of 70/70 criteria. 2.To compare computational thinking for grade 1 students learning with Unplugged Coding with the criteria of 70 percent. 3. To study the satisfaction of Prathomsuksa 1 students towards learning activities with unplugged coding. The sample group used in this research were 45 students studying in Prathomsuksa 1/2, semester 2, academic year 2022, Phrakumarn Mahasakham School. The research tool was a computational thinking test. satisfaction questionnaire developed by the researcher The data were analyzed by percentage, mean, and standard deviation. From the research findings, it was found that 1.Unplugged Coding Learning that Promotes Computational Thinking For grade 1 students, it is as effective as 75.69/72.91, above the threshold of 70 percent . 2.Grade 1 students who received learning activities with unplugged coding promoted computational thinking. have computational thinking ability scores Above the threshold of 70 percent 3. The overall satisfaction of Prathom Suksa 1 students towards learning activities with unplugged coding that promote computational thinking. satisfied Overall, the average was 2.53, which was the highest level.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม จำนวน 45 คน ได้โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ (Unplugged Coding) ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงคำนวณ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.69/72.91สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ มีคะแนนความสามารถการคิดเชิงคำนวณ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจมีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 2.53 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2542
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010582001.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.