Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2556
Title: The Integrated Activity of Marine Tourism Management in Phuket Province
การจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลเชิงบูรณาการ จังหวัดภูเก็ต
Authors: Sirirat Khantong
ศิริรัตน์ ขานทอง
Wantakarn Seemarorit Card
วันทกาญจน์ สีมาโรฤทธิ์ การ์ด
Mahasarakham University
Wantakarn Seemarorit Card
วันทกาญจน์ สีมาโรฤทธิ์ การ์ด
wantakan.s@msu.ac.th
wantakan.s@msu.ac.th
Keywords: การท่องเที่ยว
กิจกรรม
การท่องเที่ยวทางทะเล
Tourism
Activity
Marine Tourism
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) To study the current conditions in the management of marine tourism activities in Phuket 2) To study the problems and obstacles in managing marine tourism activities in Phuket 3) Study the behavior of tourists in using Phuket marine tourism activities 4) Study the satisfaction of tourists towards Phuket marine tourism activities and 5) To determine the management model of integrated marine tourism activities in Phuket. This research is a combination of qualitative and quantitative research, Qualitative research used in-depth interviews from key Informants, including government representatives, private sector and local people to the current condition problems and obstacles in managing marine tourism activities in Phuket and using group discussion methods with all relevant sectors to establish an integrated marine tourism management model in Phuket. For quantitative research use queries ask Thai and foreign tourists who use marine tourism activities in Phuket, Regarding the behavior of tourists in using Phuket marine tourism activities and the satisfaction of tourists towards Phuket marine tourism activities. The research results were as follows 1) At present, the overall management of marine tourism activity in Phuket province, entrepreneurial and area management, meets the 18 standards of the Department of Tourism, Ministry of Tourism and Sports. Although the opinion on each standard varied according to the informant and was trivial, it is essential to pay attention to it. For example, there are fewer vehicles used for public transportation and the competency to support has not been cleared etc. 2) Problems and obstacles in managing marine tourism activities in Phuket consist of problems caused by government agencies. Private sector and local people both in space management and personnel management. 3) The behavior of tourists in using Phuket marine tourism activities, most of them have visited Phuket more than 3 times and visited Phuket for the first time. Have used Phuket marine tourism activities more than 3 times. Booking through a tour company. The person participating in the activity is a family/relative. The vehicle is a rental car. Resources that inform about activities such as social networks, friends. Tourists make their own decisions and are influenced by friends. It is charged per person 4,000 baht or more. Will resume our Phuket marine tourism activities. 4) Overall satisfaction with Phuket's marine tourism activities based on the marketing mix factors is moderate. When considering each aspect, High level of satisfaction were distribution place, prices, marketing promotion. Moderate satisfaction were product, physical evidence and process. Low levels of satisfaction were people. 5) Integrated Marine Tourism Activities Management Model in Phuket All stakeholders have established Phuket's Integrated Marine Tourism Activity Management Model as a model, calling this model “PHUKET LAMPS”
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ต 3) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ต 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ต และ 5) เพื่อกำหนดรูปแบบการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลเชิงบูรณาการจังหวัดภูเก็ต การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ ถึงสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ต และใช้วิธีการสนทนากลุ่มร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดรูปแบบการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลเชิงบูรณาการจังหวัดภูเก็ต สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม สอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่ใช้บริการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลในจังหวัดภูเก็ต ถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ต และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ต ผลการวิจัยพบว่า 1) ในปัจจุบันการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ต ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการสำหรับผู้ประกอบการหรือด้านการจัดการของพื้นที่ในภาพรวมเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวที่กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้กำหนดไว้ ซึ่งมีประเด็นย่อยจำแนกออกเป็น 18 ประเด็น แต่อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดบางประเด็นย่อยก็มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญบางส่วนมีความเห็นต่างออกไป ซึ่งแม้จะเป็นส่วนน้อยก็สมควรให้ความสนใจไว้ด้วย เช่น พาหนะที่ใช้ในการเดินทางสำหรับการขนส่งสาธารณะยังน้อยอยู่ การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับยังไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน เป็นต้น 2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วยปัญหาที่เกิดจากหน่วยภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ ทั้งด้านการจัดการพื้นที่และการจัดการด้านบุคลากร 3) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตมากกว่า 3 ครั้ง และเดินทางมาท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ตเป็นครั้งแรก เคยใช้บริการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ตมากกว่า 3 ครั้ง จองผ่านบริษัททัวร์ บุคคลที่ร่วมใช้บริการกิจกรรมคือครอบครัว/ญาติ ยานพาหนะเป็นรถเช่า แหล่งข้อมูลที่ทำให้ทราบถึงกิจกรรม เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ค เพื่อน นักท่องเที่ยวตัดสินใจเองและได้รับอิทธิพลจากเพื่อน ค่าใช้จ่ายต่อคน 4,000 บาทขึ้นไป และจะกลับมาใช้บริการกิจกรรมอีก 4) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดภูเก็ตตามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ด้านที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยคือ ด้านบุคลากร 5) รูปแบบการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลเชิงบูรณาการจังหวัดภูเก็ต ทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้กำหนดรูปแบบการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลเชิงบูรณาการจังหวัดภูเก็ตเป็นแบบจำลอง (Model) โดยเรียกรูปแบบนี้ว่า “PHUKET LAMPS”
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2556
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011060014.pdf32.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.