Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2561
Title: Developing a Model for Epidemic Prevention and Control in Communities According to District-level Quality-of-life Development Standards
การพัฒนารูปแบบในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคระบาดในชุมชนตามมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
Authors: Boonprajuk Junwin
บุญประจักษ์ จันทร์วิน
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
vorapoj@msu.ac.th
vorapoj@msu.ac.th
Keywords: รูปแบบในการดำเนินงาน
การป้องกันและควบคุมโรค
โรคระบาด
มาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
Operational Model
Disease Prevention and Control
Epidemic
Quality-of-life Development Committee
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aimed to develop a community epidemic prevention and control model by adhering to the quality-of-life improvement standards at the district level in Nakhon Si Thammarat province. The study spanned two phases from June 2022 to June 2023. The first phase involved two main steps. Step 1 focused on studying the local context and identifying key factors in preventing and controlling epidemics within the community. The sample size was determined by comparing the proportion of the known population (492 persons) to 475. The qualitative study sample was randomly selected from a pool of 23 individuals who were part of the district-level quality-of-life development committee. Five districts participated in this study, namely Chang Klang District, Nop Phitam District, Hua Sai District, Ron Phibun District, and Thung Song District. Data collection involved questionnaires for the qualitative study and semi-structured questions for the qualitative study (focus group). Quantitative data were analysed using various statistical methods, including mean, standard deviation, frequency, percentage, multiple regression, and confirmatory factor analysis. Step 2 The action research phase consists of four steps: 1) Planning, 2) Implementation, 3) Observation and 4) Reflection, carried out in Phrom Khiri District, Nakhon Si Thammarat. This research finding revealed that the development of a community epidemic prevention and control model, in line with the quality-of-life improvement standard set by the district-level quality-of-life development committee, encompasses six dimensions : (1) applying the results to epidemics actions; (2) improving communication and public awareness about epidemics; (3) fostering cooperation in planning and evaluating; (4) boosting morale and encouragement; (5) efficiently utilizing resources and development skills; and (6) integrating and system evaluation. Self-assessment based on UCCARE guidelines indicated that all dimensions had been assessed and were in an integrated stage. Furthermore, the model received a perfect score, covering ten dimensions. Community activities were cooperative, ongoing, and promoted within the community to encourage active participation. Moreover, continuous adherence to policies and integration with relevant government agencies and shared resources was highly beneficial. However, the success of these efforts largely depends on the specific context of the districts, which will directly impact the effectiveness of community epidemic prevention and control. Recommendations from this study include the necessity for each district to ensure integrative preparation by providing supportive counselling and focusing on effective networking before implementing a quality-of-life development model. Additionally, it is essential to disseminate vital information about the role of the quality-of-life development committee. Furthermore, in the event of a new epidemic, an emphasis should be placed on system management in the epidemic situation, ensuring effective communication with all departments in the district. This comprehensive approach reflects excellent management practices and addresses the challenges required for success.
วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคระบาดในชุมชน ตามมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 – มิถุนายน 2566 แบ่งการศึกษาเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพบริบทพื้นที่ และศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคระบาดในชุมชน ประชากรเป้าหมาย จำนวน 492 คน คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 475 คน กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 23 อำเภอ สุ่มกลุ่มเป้าหมาย 5 อำเภอ ด้วยการหยิบฉลากอย่างง่าย ได้แก่ อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอหัวไทร อำเภอร่อนพิบูลย์ และอำเภอทุ่งสง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แนวคำถามสนทนากลุ่ม ส่วนขั้นตอนที่ 2 ระยะการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (2) การปฏิบัติ (3) การสังเกตการณ์ และ (4) การสะท้อนผล ดำเนินการในพื้นที่อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนารูปแบบในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคระบาดในชุมชน ตามมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ที่พัฒนาขึ้นเกิดจากการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ นำไปสู่องค์ประกอบของรูปแบบ 6 มิติ ประกอบด้วย (1) การประชุมและใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยา (2) พัฒนาช่องทางสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการระบาด (3) การวางแผนและประเมินผลร่วมกัน (4) การสร้างขวัญและกำลังใจ (5) การใช้ทรัพยากรและพัฒนาทักษะ และ (6) การบูรณาการและประเมินผลระบบ และผลการประเมินตนเองตามแนวทาง UCCARE มีการประเมินครบทุกมิติ และอยู่ในขั้นบูรณาการ มีคะแนนระดับ 5 หลังการพัฒนารูปแบบโดยดำเนินการกิจกรรมครอบคลุมทั้ง 10 มิติ กิจกรรมที่ดำเนินการโดยชุมชน มีการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงประชาชน และทำให้เกิดกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติที่แท้จริง ประกอบกับหากมีการปฏิบัติตามนโยบายอย่างต่อเนื่อง การบูรณาการเชิงพื้นที่ทั้งภาคประชาชน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และมีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกันอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานเชิงบริบทของแต่ละอำเภอ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันและควบคุมโรคระบาดอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อดสนอแนะ ควรนำมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอมาบริหารจัดการที่จะต้องเน้นการเตรียมความพร้อมแบบบูรณาการ ด้วยการสนับสนุน การให้คำปรึกษา และการให้ความสำคัญกับการกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดเครือข่ายที่เหมาะสม รวมไปถึงจะต้องเผยแพร่ข้อมูลที่จำเป็นที่ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของคณะกรรมการ เมื่อเกิดการระบาดของโรคอุบัติใหม่ควรเน้นให้เห็นการจัดการระบบ ในสภาวะที่มีการระบาดของโรคจะต้องมีการทำงานและมีการประสานงานกันทุกองค์กรในอำเภอ ซึ่งจะสะท้อนให้ถึงแนวทางการดำเนินงานที่ดี และความท้าทายในความสำเร็จ
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2561
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63011490032.pdf8.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.