Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2564
Title: Improving restaurant operations to a clean restaurant standardwith delicious taste at a very good level in Wapipathum subdistrict municipalityWapipathum District Mahasarakham Province
การพัฒนาการดำเนินงานร้านอาหาร สู่มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก ในเขตเทศบาลตำบลวาปีปทุม  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Supawadee Satee
สุภาวดี สาที
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
vorapoj@msu.ac.th
vorapoj@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาการดำเนินงานร้านอาหาร
อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก
development of restaurant operations
clean food delicious taste very good level
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research is participatory action research. To develop restaurant operations to meet the standards of clean, delicious food at a very good level in Wapi Pathum Subdistrict Municipality. Wapi Pathum District Maha Sarakham Province With the participation of network partners, which consists of 118 representatives of the public sector, 10 representatives of the academic sector, and 3 representatives of the political sector. The study is divided into 3 parts: (1) Situation Context Study Group is a group of citizens, academic and political sectors, totaling 178 people. (2) Group participating in the development of the model. There were 60 representatives from various sectors and stakeholders. (3) A group that participated in the evaluation of development and success factors, totaling 60 people. Both quantitative and qualitative data were collected using questionnaires, interviews, and conversations. Groups, assessments, and knowledge tests Data were analyzed using averages. Standard deviation, frequency, percentage and Paired simple t-test. The research results found that From the restaurant development operations to the standards of clean food, delicious taste, very good level, which uses participatory operations of network partners in every sector. The operation consists of 5 steps: 1) studying the context of the area and community conditions 2) joint planning with network partners 3) implementing the plan 4) observing and following up with network partners 5) reflection Results and lessons learned from success. This allows the restaurant to pass the standards for clean, delicious, very good food, increasing from 8.33 percent to 33.33 percent, which is from having good practices. This has led to the development of restaurant operations to the standard of clean, delicious food at a very good level in Wapi Pathum Subdistrict Municipality. Wapi Pathum District successful and can lead to further development to achieve sustainable development in the future Based on the principles of community participation.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  เพื่อพัฒนาการดำเนินงานร้านอาหารสู่มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก ในเขตเทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายซึ่ง ประกอบด้วย ตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 185 คน ตัวแทนภาควิชาการ จำนวน 10 คน และตัวแทนภาคการเมือง จำนวน 3 คน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) กลุ่มศึกษาบริบท สถานการณ์ คือ กลุ่มประชาชน  ภาควิชาการ และภาคการเมือง จำนวน 198 คน  2) กลุ่มที่มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบ คือตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 60 คน 3) กลุ่มที่เข้าร่วมประเมินผลการพัฒนาและปัจจัยแห่งความสำเร็จ จำนวน 60 คน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม  แบบประเมิน และแบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และ Paired simple t-test ผลการวิจัยพบว่า จากการดำเนินงานพัฒนาร้านอาหารสู่ มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก ซึ่งใช้การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน จากการดำเนินงานประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่ และสภาพชุมชน  2) การร่วมวางแผนกับภาคีเครือข่าย 3) การดำเนินการตามแผน  4) การสังเกตและติดตามผลร่วมกับภาคีเครือข่าย 5) การสะท้อนผลและถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จ ซึ่งทำให้ร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 8.33 เป็นร้อยละ 33.33 ซึ่งจากการมีแนวทางปฏิบัติที่ดี ทำให้การพัฒนาการดำเนินงานร้านอาหารสู่มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ระดับดีมาก ในเขตเทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม ประสบความสำเร็จ และสามารถนำแนวทางไปพัฒนาต่อเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคตได้ โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2564
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64011481040.pdf5.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.