Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2567
Title: | The Process of Transmission of Mor Lam Khon Kaen Style by the Rattanasin Intathairat Group กระบวนการถ่ายทอดลำทำนองขอนแก่นของหมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ |
Authors: | Chonvit Sriken ชนวิทย์ ศรีเคน Weerayut Seekhunlio วีรยุทธ สีคุณหลิ่ว Mahasarakham University Weerayut Seekhunlio วีรยุทธ สีคุณหลิ่ว weerayut.s@msu.ac.th weerayut.s@msu.ac.th |
Keywords: | กระบวนการถ่ายทอด แนวทางการพัฒนา ลำทำนองของแก่น หมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ Transmission process Development guidelines Mor Lam Khon Kaen style Mo Lam Rattanasin Intathairat group |
Issue Date: | 7 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The process of transmission of Mor Lam Khon Kaen style by the Rattanasin Intathairat group, It is qualitative research. The objectives are to: 1) study the process of transferring Khon Kaen melodies of the Rattanasin Inta Thai Rat Molam group 2) Study the guidelines for developing the transmission of Mor Lam Khon Kaen style by the Rattanasin Intathairat group. Data were collected from documents and in the field. The study was conducted between September 2022 and September 2023. The research tools used were interviews and observational forms. Key informants included 1) a group of 3 knowledgeable people; 2) a group of 2 people who received the transfer; and 3) a group of 10 general people. and present the research results by means of descriptive analysis. The research results are as follows:
1. The process of transmission of Mor Lam Khon Kaen style by the Rattanasin Intathairat group begins with the selection of students interested in singing and Lam music. Students first focus on memorizing Lam poems to understand them independently, emphasizing precise word memorization and clear pronunciation without concern for melody initially. The teacher demonstrates body movements before instructing students. Melody practice demands patience, as correct word pronunciation and pitch alignment with the Lam melody are crucial. Sound level comparison with the original recording aids learning, and teachers provide recorded vocals for independent practice.
2. The guidelines for developing the transmission of Mor Lam Khon Kaen style by the Rattanasin Intathairat group must cover knowledge in both social, cultural, and technological aspects to be up-to-date. Lam poems should have up-to-date content and be consistent with the current situation. Morlam performances should be adjusted to suit current events. Still maintaining the original traditions Add new content to the list in an appropriate and concise manner. To add fun and interest to the audience and listeners. Using modern language interspersed with Klon Lam in Isan folk language will help communicate more with audiences of all ages. The emphasis is placed on expressing the story, which must include lyrics and music to increase the fun of listening. กระบวนการถ่ายทอดลำทำนองขอนแก่นของหมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดลำทำนองขอนแก่นของหมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการถ่ายทอดลำทำนองขอนแก่นของหมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม ทำการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน 2565 ถึง เดือนกันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) กลุ่มผู้รู้ 3 คน 2) กลุ่มผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด 2 คน และกลุ่มบุคคลทั่วไป 10 คน และนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการถ่ายทอดของหมอลำทำนองขอนแก่นคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์มีวิธีการรับลูกศิษย์ที่มีความสนใจในด้านเสียงร้องและเสียงลำ การท่องจำกลอนลำเป็นการศึกษากลอนลำให้เข้าใจด้วยตัวเอง ลูกศิษย์จะถูกมอบหมายให้นำกลอนลำไปท่องจำให้แม่นยำและขึ้นใจ โดยไม่ต้องลำใส่กับท่วงทำนองในตอนแรก แต่เน้นการจดจำคำในกลอนลำให้แม่นยำและการออกเสียงแต่ละคำให้ชัดเจน ผู้ถ่ายทอดจะสาธิตการลำตัวอย่างก่อนถึงจะถ่ายทอดเรื่องนั้นไปยังลูกศิษย์ กระบวนการฝึกท่วงทำนองต้องอาศัยความอดทนของลูกศิษย์อย่างมาก เนื่องจากต้องออกเสียงคำแต่ละคำให้ถูกต้องและระดับเสียงของคำต้องเข้ากับท่วงทำนองของลำ โดยการเทียบระดับเสียงจากเสียงแคน นอกจากนี้ผู้ถ่ายทอดจะบันทึกเสียงร้องของตัวเองเพื่อให้ลูกศิษย์ฝึกซ้อมด้วยตัวเอง 2. แนวทางการพัฒนาการถ่ายทอดลำทำนองขอนแก่นของหมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ต้องครอบคลุมความรู้ทั้งด้านสังคมวัฒนธรรมและเทคโนโลยีให้ทันสมัย กลอนลำควรมีเนื้อหาสาระที่ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การแสดงหมอลำควรปรับเปลี่ยนเพื่อเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยยังคงรักษาขนบธรรมเนียมเดิม เพิ่มเนื้อหาใหม่เข้ามาในรายการอย่างเหมาะสมและกระชับ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟัง การใช้ภาษาที่ทันสมัยและสลับกับกลอนลำในภาษาพื้นบ้านอีสานจะช่วยสื่อสารกับผู้ชมทุกวัยได้มากขึ้น เน้นการแสดงเรื่องราวและต้องมีเนื้อร้องประกอบดนตรีเพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการรับฟัง |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2567 |
Appears in Collections: | College of Music |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64012051002.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.