Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/257
Title: | Paticipatory Model for Comunity Reduction of Traffic Accidents in
The City of Bung Wai Warinchamrab Ubon Ratchathani รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จุดเสี่ยง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี |
Authors: | Naruemon Kraikon นฤมล ไกรกล Wirat Pansila วิรัติ ปานศิลา Mahasarakham University. The Faculty of Public Health |
Keywords: | การมีส่วนร่วม ผู้นำชุมชน จุดเสี่ยง participation community leader risky point area |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The traffic accidents problem of Thailand is the leading is the cause of injury and death. The object of the action research was to study the participatory model of the community for reduction the traffic accidents problem in the risky area, Bung Wai sub-district, Warinchamrab District, Ubon Ratchathani Province. Random selected target group, according to the criteria of 330 persons. Collect data using questionnaire, for both quantity and quality data and a group meeting method. Statistic used for this research study were the Frequency, Mean, Percentile, the average of Standard Deviation and Paied Sample t-test, for the qualification data using the text analysis.
The results of the research were as follows: Process in operation 4 steps 1) Study the context and plan the implementation. 2) Take action according to the plan. 3) Fallow up the implementation 4) Sharing and learning lessons learned. After the operation, it was found that the behavior of the traffic accidents target group pre research, the average score of the traffic accidents management were 3.52±0.34 post study the average score increased to be 4.46±0.23. The result of the community participation, pre study the sample group have the average score 3.36±0.23, post study the sample group have the score increased to be 4.46±026. The result of the quality data, in the risky area we can identify and analyzed 5 risky areas and cooperate to resolve. The comparison pre and post study concerning the accident, the injury were reducing 11 cases or 29.73 % Life lost reducing 2 cases or 66.67% statistic significantly (p-value < 0.05).
A research of Participatory model for community reduction of traffic accidents at the risky area point area. There is a factor of success. Strong leaders have network partners working together with the government. The community is involved in every step. ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย เป็นสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่สำคัญ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จุดเสี่ยง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สุ่มคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 330 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือ Paired Sample t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการดำเนินงานครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาบริบทและวางแผนการดำเนินงาน 2) การปฏิบัติตามแผน 3) การนิเทศ ติดตามการดำเนินงาน 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน ภายหลังการดำเนินงานพบว่าพฤติกรรมการดำเนินงานของกลุ่มเป้าหมายอุบัติเหตุก่อนการศึกษา ค่าเฉลี่ย 3.52±0.34 หลังการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เป็น 4.46±0.23 กระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน ก่อนการศึกษากลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ย 3.36±0.23 หลังการศึกษากลุ่มตัวอย่างมี ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 4.46±0.26 ข้อมูลเชิงคุณภาพ พื้นที่สามารถวิเคราะห์จุดเสี่ยงจำนวน 5 จุด และร่วมหาแนวทางแก้ไข เปรียบเทียบการดำเนินงานก่อนและหลังดำเนินงาน การบาดเจ็บลดลง 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.73 เสียชีวิตลดลง 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 66.67 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) สรุป การศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จุดเสี่ยงในครั้งนี้ ผู้นำชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถร่วมวิเคราะห์จุดเสี่ยงในพื้นที่ของตนเอง หาแนวทางการแก้ไข และร่วมกันแก้ไขปัญหาในชุมชนโดยใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินงานในทุกขั้นตอนตามบริบทของตนเอง ทั้งนี้ทำให้มีสัมพันธภาพที่ดีกับทุกภาคส่วน |
Description: | Master of Public Health (M.P.H.) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/257 |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58051480018.pdf | 7.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.