Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/258
Title: | Developing Process for Risk Management Report System Roi Et Hospital Roi Et Province กระบวนการพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือน ในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด |
Authors: | Kanokporn Yodyot กนกพร ยอดยศ Terdsak Promarak เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ Mahasarakham University. The Faculty of Public Health |
Keywords: | 2P Safety การบริหารความเสี่ยง ระบบรายงานความเสี่ยง 2P Safety Risk Management Risk Report System |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Risk management surveillance system for safety of patients and health personnel (2P Safety) in hospitals is an important quality health care development towards Hospital Accreditation. This participation action research aimed at studying the development of risk report system and alert notices of risk management in Roi-Et hospital. A total of 80 samples were health personnel in hospital. The study was carried out during February to June, 2018. Both qualitative and quantitative data were collected. Descriptive statistics, including percentage, average, standard deviation and inferential statistics such as Paired Simple t-test were employed for data analyses.
Includes; the research found that an eight-stage risk report system and alert notice development process; 1) Context and risk situation analysis, 2) Planning development, 3) 2P Safety Policy announcement, 4) Risk report participatory meeting, 5) 2P Safety campaign, 6) Risk Reporting via QR Code, 7) Followed-up, and 8) Lesson learned, showed an effective on risk report system and alert notice development. The mean scores of risk management on roles, knowledge, participation, practices, satisfaction, and safety culture were significantly increased (p-value < 0.001). Moreover, ROIET Model for risk report system and alert notices was occurred.
In conclusion, key successful factors in risk report system and alert notice development process included 3P: P-Policy of hospital, P-Participation of all personnel in all stages of development, and P-Proactive of work emphasizing on prevention and notice prior to problem occurrences. การเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety) เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือนในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นบุคลากรที่รับผิดชอบในกระบวนการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล จำนวน 80 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Simple t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือนในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์บริบทและความเสี่ยงของโรงพยาบาล 2) จัดทำแผนปฏิบัติการ 3) ประกาศนโยบาย 2P Safety 4) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้ระบบการรายงานความเสี่ยง 5) รณรงค์ 2P Safety เสียงตามสายขยายความรู้ 2P Safety 6) การรายงานความเสี่ยงผ่าน QR Code 7) ติดตาม นิเทศงานประเมินกิจกรรมคุณภาพ และ 8) ถอดบทเรียน ซึ่งพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยมีระดับค่าเฉลี่ยของบทบาทในการบริหารความเสี่ยง ความรู้ การมีส่วนร่วม การปฏิบัติ ความพึงพอใจ และวัฒนธรรมความปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้นจากก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) และเกิดรูปแบบเบื้องต้นของการพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือนในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด คือ ROIET Model โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือนมีหลัก คือ 3P ประกอบด้วย P: Policy คือ มีนโยบายขององค์กรที่ชัดเจน P: Participation คือ การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายและทุกขั้นตอน และ P: Proactive คือ การทำงานเชิงรุก เน้นการป้องกันและเตือนก่อนเกิดปัญหา |
Description: | Master of Public Health (M.P.H.) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/258 |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59011480001.pdf | 3.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.