Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2602
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSuphaporn Kiatdamnoen-ngamen
dc.contributorสุภาพร เกียรติดำเนินงามth
dc.contributor.advisorPeera Phanlukthaoen
dc.contributor.advisorพีระ พันลูกท้าวth
dc.contributor.otherMahasarakham Universityen
dc.date.accessioned2024-09-01T20:16:19Z-
dc.date.available2024-09-01T20:16:19Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued26/11/2023
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2602-
dc.description.abstractKalasin's Phuthai Female Costume: Gender,Cultural Identity, Bodily Practise, and the Process of Becoming a Uniqueness of Dressing of the Kalasin Female Research method: Qualitative Research. Conduct research by studying documents, books, research materials, theses, doing interviews using questionnaires, doing fieldwork to collect data, and observing ceremonies and festivals in Kalasin Province. The study aims to achieve three objectives. The primary objective is to examine the impact of gender on the evolution of costume culture within the Phuthai community. Furthermore, this study hope to provide a comprehensive analysis of the many components of Phuthai clothing and their significance in influencing performative actions.  The final objective is to analyse the promotional strategies employed for the Phuthai costume and its evolution into a sign of identity for women in the Kalasin. This research has studied Phu Thai clothing identity in three fields: 1. Clothes identity in Amphoe Khao Wong and Amphoe Naku 2. Clothing identity in Amphoe Kuchinarai and Amphoe Huai Phueng 3. Clothing identity in Amphoe Kham Muang and Amphoe Sam Chai. The study shows that Phu Thai women value married life and self-management. They are skilled in handicrafts like sewing and weaving. They are also an ethnic group that enjoys art in all forms. The gender role of Phu Thai women is what determines what Phu Thai women are through handicrafting. They use their unique culture as a term, which we call ‘Rites of Passage, to change from kid to mature woman. Through traditional ethnic terms to be recognised in a group as an ideal woman’ traditionally, regarding their ability of creating the inherited textile and cloths. Phu Thai clothing shifts according to day and age, but something that still remains ethnically unique and makes Kalasin remarkable and recognisable is Phu Thai dressing and clothing that create identity and reflect the culture of the area. These are Phu Thai's unique clothes: Suea Taab or Suea Moab (Taab cloth or Moab cloth), which is dyed blue with Makleua, is decorated with Pha Khit. And red Biang (Sbai) Pha Khit that are called Pha Prae Wa, Prae Khit, or Prae Kheb, and Pha Lai Riang. They also wear Pha Sinh Phu Thai, which is a Mud Mhee in a shade of black. Their hairdo is usually in a klao (bun) called Muay Jig or Muay Jog (Wig Wong) and covered with Pha Prae Mon. The clothing cultures of all of the areas studied are almost identical, with the same structure: Phu Thai top, Phu Thai Sinh, Pha Biang Phu Thai, and Pha Prae Mon. These are the main components of Phu Thai clothing. Kalasin Phu Thai clothing also shows us a cultural flourishing in many ways. Which makes Kalasin known as the Province of cultural heritage. Because they created a good impression through their clothing identity, which is expressed by their annual tradition and ceremony and through the media. This makes people constantly aware of their clothing traditions. They also promote their clothing as a cultural product that aims to be accessible to everybody. In the past, Phu Thai clothing might have been just ethnic clothing that was only worn by a Phu Thai group. But after a cultural diffusion Because they are beautiful and unique, they are not worn only by Phu Thai women anymore. Now they are accessible for anybody to wear, which we can often see in most annual ceremonies and festivals in Kalasin. They represent a culture that Kalasin people are familiar with. This pointed out how Phu Thai clothing is a perfect representation of the unique identity of Kalasin people and turned out to be the clothing identity of Kalasin women.en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง อาภรณ์สตรีผู้ไทยกาฬสินธุ์ : เพศสภาพ อัตลักษณ์วัฒนธรรม ปฏิบัติการเรือนกาย และกระบวนการกลายเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวกาฬสินธุ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของเพศสภาพสตรีต่อการสร้างอัตลักษณ์วัฒนธรรมและการแต่งกายของสตรีชาวผู้ไทยในจังหวัดกาฬสินธุ์ ศึกษาองค์ประกอบ การประกอบสร้างและปฏิบัติการเรือนกายของอาภรณ์สตรีผู้ไทยกาฬสินธุ์ และศึกษารูปแบบการส่งเสริมการแต่งกายชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์และกระบวนการกลายเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวกาฬสินธุ์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยโดยการค้นคว้าจากเอกสาร หนังสือ ตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม การลงพื้นที่เพื่อบันทึกข้อมูล และเข้าร่วมสังเกตการณ์ในเทศกาลหรืองานประเพณีในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการคือ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ของเพศสภาพสตรีต่อการสร้างอัตลักษณ์วัฒนธรรม และการแต่งกายของสตรีชาวผู้ไทยในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2. ศึกษาองค์ประกอบ การประกอบสร้างและปฏิบัติการเรือนกาย ของอาภรณ์สตรีผู้ไทยกาฬสินธุ์ 3. ศึกษาเชิงวิเคราะห์ รูปแบบการส่งเสริมการแต่งกายชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์และกระบวนการกลายเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวกาฬสินธุ์ ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาอัตลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์ 3 พื้นที่ คือ 1. อัตลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์พื้นที่อำเภอเขาวงและอำเภอนาคู 2. อัตลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์พื้นที่อำเภอกุฉินารายณ์และอำเภอห้วยผึ้ง 3. อัตลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์พื้นที่อำเภอคำม่วงและอำเภอสามชัย                                                  ผลวิจัยพบว่าสตรีชาวผู้ไทยเป็นสตรีที่งดงามด้วยการครองเรือน ครองตน มีความสามรถในเชิงช่างทั้งการเย็บปักถักร้อย และการทอผ้า และเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่รักในศิลปะทุกแขนง เพศสภาพของชาวผู้ไทยได้เป็นตัวกำหนดบทบาทของสตรีผู้ไทย ผ่านงานหัตถศิลป์ด้านสิ่งทอ โดยมีข้อกำหนดที่เป็นวัฒนธรรมเฉพาะแห่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่าเป็นการ “ผ่านภาวะ” คือเป็นการเปลี่ยนสถานภาพจากวัยเด็กไปสู่วัยสาวอย่างเต็มตัว ด้วยข้อกำหนดที่เกี่ยวเนื่องกับจารีตของชาติพันธุ์ในการยอมรับสถานภาพทางสังคมว่าสตรีผู้นั้นเป็น “สตรีที่สมบูรณ์แบบ” จากคุณสมบัติในการสร้างสรรค์สิ่งทอและเสื้อผ้าอาภรณ์อันเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมา วัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีชาวผู้ไทยมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่สิ่งที่คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ที่โดดเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดกาฬสินธุ์คือ การแต่งกายด้วยชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นชุดอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของพื้นที่ โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะคือการสวมใส่เสื้อผู้ไทยที่เรียกว่าเสื้อแถบ หรือเสื้อมอบ ที่เป็นลักษณะของการย้อมครามสีเข้ม หรือย้อมมะเกลือสีดำ มีแถบผ้าขิดตกแต่ง เบี่ยงผ้าขิดสีแดงที่เรียกกันว่าผ้าแพรวา แพรขิด แพรเก็บ และแพรลายเรียง นุ่งผ้าซิ่นผู้ไทยซึ่งเป็นซิ่นมัดหมี่โทนสีดำ เกล้าผมมวยจิกหรือมวยจ๊อก (วิกว๊อง) และพันมวยผมด้วยผ้าแพรมน วัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีชาวผู้ไทยทั้ง 3 กลุ่มพื้นที่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นวัฒนธรรมในรูปแบบเดียวกัน มีองค์ประกอบในรูปแบบการแต่งกายที่เหมือนกันซึ่งประกอบไปด้วย เสื้อผู้ไทย ซิ่นผู้ไทย ผ้าเบี่ยงผู้ไทยและผ้าแพรมนที่เป็นองค์ประกอบหลักในการแต่งกาย ชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์ยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมในหลายๆด้าน เป็นภาพลักษณ์ที่ทำให้จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรม เพราะมีการสร้างภาพจำที่น่าประทับใจผ่านอัตลักษณ์การแต่งกาย ด้วยการนำเสนอผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ มีการจัดงานบุญประจำปี งานประเพณี ที่ทำให้ผู้คนตื่นตัวในเรื่องของวัฒนธรรมการแต่งกายอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์ กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่สามารถซื้อหาเพื่อการสวมใส่ได้ทุกคน ในอดีตชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์อาจจะเป็นเพียงชุดอัตลักษณ์ที่สวมใส่กันเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวผู้ไทย แต่เมื่อมีการแผ่กระจายวัฒนธรรม ด้วยความงามของชุดที่เป็นเอกลักษณ์ ชุดผู้ไทยจึงไม่ได้เป็นเพียงชุดที่สวมใส่กันเฉพาะสตรีชาวผู้ไทยอีกต่อไป หากแต่ยังสามารถสวมใส่ได้ทุกคน และปัจจุบันก็มีปรากฏให้เห็นในทุกงานบุญประเพณีและทุกเทศกาลของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเหมือนภาพตัวแทนทางวัฒนธรรมที่ผู้คนคุ้นชิน สิ่งนี้จึงเป็นข้อชี้ชัดว่าชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์คือชุดที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชาวกาฬสินธุ์ได้อย่างสมบูรณ์และได้กลายเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวกาฬสินธุ์th
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectเพศสภาพth
dc.subjectการแต่งกายของชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์th
dc.subjectชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์th
dc.subjectอัตลักษณ์วัฒนธรรมth
dc.subjectความเป็นเอกลักษณ์th
dc.subjectGenderen
dc.subjectPhu Thai clothingen
dc.subjectPhu Thai clothesen
dc.subjectCultural identityen
dc.subjectUniquenessen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationFine artsen
dc.titleKalasin's Phuthai Female Costume : Gender,Cultural Identity, Bodily Practice and the Process of Becoming a Uniqueness of Dressing of the Kalasin Femaleen
dc.titleอาภรณ์สตรีผู้ไทยกาฬสินธุ์ : เพศสภาพ อัตลักษณ์วัฒนธรรม ปฏิบัติการเรือนกายและกระบวนการกลายเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวกาฬสินธุ์th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorPeera Phanlukthaoen
dc.contributor.coadvisorพีระ พันลูกท้าวth
dc.contributor.emailadvisorpeeraphanlukthao@hotmail.com
dc.contributor.emailcoadvisorpeeraphanlukthao@hotmail.com
dc.description.degreenameDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.description.degreenameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineสำนักงานเลขาen
dc.description.degreedisciplineสำนักงานเลขาth
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64012464002.pdf79.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.