Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2604
Title: Diversity and Abundance of Zooplankton in Chemical and Organic Rice Fields in Buri Ram Province
ความหลากหลายและความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์ในนาข้าวแบบเคมีและนาข้าวแบบอินทรีย์ในจังหวัดบุรีรัมย์
Authors: Pacharapol U-kerd
พชรพล อยู่เกิด
Akeapot Srifa
เอกพจน์ ศรีฟ้า
Mahasarakham University
Akeapot Srifa
เอกพจน์ ศรีฟ้า
akeapot.s@msu.ac.th
akeapot.s@msu.ac.th
Keywords: แพลงก์ตอนสัตว์
นาข้าวแบบอินทรีย์
นาข้าวแบบเคมี
ดัชนีความหลากหลาย
ความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์
Zooplankton
Organic rice fields
Chemical rice fields
Diversity Index
Zooplankton abundance
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: A study of zooplankton diversity and abundance in chemical and organic rice fields in Buri Ram province was carried out by taking monthly water samples from September to November 2019. Zooplankton were quantitatively collected through a 20-micrometer plankton net, and some environmental variables were measured. Samples were collected from 3 organic rice fields and 3 chemical rice fields but in November it was so dry that no samples can be collected. Total 68 zooplankton species of 4 groups were found. The most found were 55 rotifers, 8 cladocerans, 4 copepods, and 1 ostracod. The most abundant zooplankton were Sinantherina sp., Polyarthra sp. and copepod nauplius. Organic rice fields had less zooplankton species than chemical rice fields. Zooplankton was most abundant in September. When comparing between types of rice fields and among sampling months, it was found that there was no significant difference in means except the evenness index that was found to be significantly lowest in September. The results from this study might show the changes in zooplankton community in rice fields that may be different due to the area environment and agricultural practices.
การศึกษาความหลากหลาย และความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์ในนาข้าวแบบอินทรีย์ และนาข้าวแบบเคมี ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำรายเดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์เชิงปริมาณด้วยตาข่ายแพลงก์ตอนขนาด 20 ไมโครเมตร และวัดตัวแปรทางสิ่งแวดล้อมบางประการ  โดยเก็บตัวอย่างจากนาข้าวแบบอินทรีย์ 3 แปลง และนาข้าวแบบเคมี 3 แปลง แต่ในเดือนพฤศจิกายน น้ำในนาข้าวแบบเคมี แห้งจนทำให้ไม่สามารถทำการเก็บตัวอย่างได้ ผลการศึกษา พบแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งหมด 68 ชนิด ใน 4 กลุ่ม กลุ่มที่พบมากที่สุดคือ โรติเฟอร์ พบ 55 ชนิด รองลงมาได้แก่ คลาโดเซอแรน 8 ชนิด โคพีพอด 4 ชนิด และออสตราคอด 1 ชนิด โดยแพลงก์ตอนสัตว์ที่ชุกชุมที่สุด ได้แก่ Sinantherina sp., Polyarthra sp. และ copepod nauplius โดยนาข้าวแบบอินทรีย์มีชนิดแพลงก์ตอนสัตว์น้อยกว่านาข้าวแบบเคมี โดยเดือนที่มีความชุกชุมแพลงก์ตอนสัตว์มากที่สุด คือเดือนกันยายน เมื่อเปรียบเทียบดัชนีความหลากหลายระหว่างนาข้าวแบบอินทรีย์และนาข้าวแบบเคมี และเปรียบเทียบระหว่างเดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ยกเว้น ดัชนีความเท่าเทียม ที่พบว่าในเดือนกันยายนมีค่าต่ำกว่าอีกสองเดือนอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษานี้อาจแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของชุมชีพแพลงก์ตอนสัตว์ในนาข้าวซึงอาจมีความแตกต่างกันได้จากสภาพแวดล้อมของพื้นที่และการทำการเกษตร
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2604
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010256001.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.