Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2613
Title: | The development of Amnatcharoen Province to Buddhism Agriculture City การพัฒนาจังหวัดอำนาจเจริญสู่เมืองธรรมเกษตร |
Authors: | Kulrawee Sriwan กุลรวี ศรีวรรณ Wanida Phomlha วนิดา พรมหล้า Mahasarakham University Wanida Phomlha วนิดา พรมหล้า wanida.ph@msu.ac.th wanida.ph@msu.ac.th |
Keywords: | เมืองธรรมเกษตร,ธรรมนูญประชาชน,จังหวัดจัดการตนเเอง Buddhism Agriculture city People's Constitution self-managed provinces |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research has two objectives: to analyze the factors that hinder the uebanization of Amnatcharoen province to Buddhism agriculture city; and to suggest ways to develop Amnatcharoen province into a Buddhism agriculture city. This research used a qualitative research method consisting of in-depth interviews and focus group interviews. The informations were divided into 2 groups: the government sector, namely vice-governor of Amnatcharoen province, Amnatcharoen provincial agriculture, Chief monk of an administrative sub division, Huai Rai sub-district chief and the headman of Ban nong Mek. The sector part, the people's sector, is menber of province education council committee chaiman of Non Nam Tang subdistrict, Organic agriculture organization council and the coordinator of the community organization procession in this research, purposive was used to select informants and in-depth interviews were used. And bring discussion points for the interview data from intervoew will be analyzed by content analysis.
The results showed that factors that hinder the city of Buddhism agriculture city are that people do not understand their roles as they should. Therefore, they aer not directly involved in srtting guidelines and policies for the development of the province towards Buddhism agriculture city. But the policy is set through representatives to drive at the provincial level. The centralization of state power led to unresolved problems. As a result, there is a group of people in the community who present the good things of each locality. Come to present to solve the problem and try to make Amnatcharoen province become a self-managed province. Until it became the frist provincial proclamation of the Amantcharoen people,s constitution. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเป็นเมืองธรรมเกษตรของจังหวัดอำนาจเจริญ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาจังหวัดอำนาจเจริญสู่การเป็นเมืองธรรมเกษตร การวิจัยนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ที่ประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาครัฐ ได้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ, เกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ รองเจ้าคณะจังหวัด กำนันตำบลห้วยไร่ และผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองเม็ก ส่วนที่สองเภาคประชาชน ได้แก่ สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ เลขานุการคณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัด ประธานสภาองค์กรเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนหนามแท่ง และผู้ประสานงานขบวนองค์กรชุมชน วิจัยนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ในการเลือกผู้ให้ข้อมูลและใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์เชิงลึก และนําประเด็นอภิปรายสำหรับการสัมภาษณ์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์จะนํามาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเป็นเมืองธรรมเกษตร คือ ประชาชนยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองเท่าที่ควร จึงไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและนโยบายในการพัฒนาจังหวัดไปสู่เมืองธรรมเกษตรโดยตรง แต่เป็นการกำหนดนโยบายผ่านผู้แทนเข้ามาขับเคลื่อนในระดับจังหวัด เกิดการรวมศูนย์อำนาจของรัฐทำให้เกิดปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข จึงทำให้มีการตั้งกลุ่มของคนในชุมชนที่นำเสนอสิ่งที่ดีงามของแต่ละท้องถิ่น มานำเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาและพยายามทำให้จังหวัดอำนาจเจริญเป็นจังหวัดจัดการตนเอง จนกลายเป็นการประกาศใช้ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2613 |
Appears in Collections: | The College of Politics and Governance |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63011382003.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.