Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/262
Title: Development of the Process of Long Term Care for the Elderly in the Community of Wapipathum Municipality, Wapipathum District, Mahasarakham Province
การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน เทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Wannisa Prakaysee
วรรณิษา  ประกายสี
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การพัฒนากระบวนการ
การดูแลระยะยาว
ชุมชน
ผู้สูงอายุ
Process of development
Long Term Care
Community
Elderly
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aimed to study the development of the process of long term care for the elderly in the community of Wapipathum Municipality, Wapipathum District, Mahasarakham Province. A total of 97 participants were selected by purposive sampling consists of 1) public sector: 1 person representing of an elderly club committee, 7 community leaders, 10 trained elderly caregivers, 31 family caregivers, 31 elderly 2) academic sector: 8 health care providers in the family medicine team 3) community sector: 9 members in the municipal elderly care committee. The data were collected by group interview, participatory observation, assessment of level of participation, health status assessment for elderly, and home service satisfaction assessment. Data were analyzed using descriptive statistics, inference statistic, and content analysis. The study found that the process of long term care for the elderly in the community consisted of 5 elements: 1) real situation analysis and action plan 2) establishment of multi-sectors cooperative network among public, academic, and community sectors 3) the involvement of network in home visiting 4) consulting network system 5) preceptor team for monitoring and evaluating. The health outcomes of the elderly after implementing the care were improved in physical, psychosocial aspects. The findings indicate that the developed long term care could enhance the quality of care based on multi-sectors cooperative network and also improve health of the elderly. The key success factors include teamwork, strong and determined network leaders, and continuous sharing of manpower, resources, time, and knowledge.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุนชน เทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม  ผู้เข้าร่วมการวิจัยเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด ประกอบด้วย 1) ภาคประชาชน ได้แก่ ตัวแทนคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 1 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 7 คน ผู้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว จำนวน 31 คน  ผู้สูงอายุ จำนวน 31 คน 2) ภาควิชาการ ได้แก่ ทีมหมอครอบครัว จำนวน 8 คน 3) ภาคท้องถิ่น ได้แก่ คณะกรรมการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเทศบาล จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 97 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวคำถามสนทนากลุ่ม แบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม แบบประเมินการมีส่วนร่วม แบบประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ แบบประเมินความพึงพอใจต่อบริการเยี่ยมบ้าน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุนชนครั้งนี้ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นจริงและจัดทำแผนปฏิบัติการ 2) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ภาควิชาการและภาคท้องถิ่น 3) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการติดตามเยี่ยมบ้าน 4) ระบบที่ปรึกษาร่วมกันในเครือข่าย 5) ทีมพี่เลี้ยงติดตามกำกับและประเมินผลเป็นระยะ ผลลัพธ์ภายหลังดำเนินกระบวนการ พบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากระบวนการดูแลที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มคุณภาพการดูแลและผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพดีขึ้น โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การทำงานเป็นทีม ความมุ่งมั่นและเข้มแข็งของเครือข่ายแกนนำ และการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งด้านคน อุปกรณ์ เวลาและความรู้อย่างต่อเนื่อง
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/262
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011480009.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.