Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/263
Title: | Effects of Capacity Building on Healthy Food Consumption Learning Program to the Glycemic Control Behavior of Type 2 Diabetic Patients Responsible Area of Thanya Health Promotion Hospital Kamalasai District Kalasin Province ผลของโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพโดยเรียนรู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
Authors: | Sirikan Bunpaboot สิริกานต์ บรรพบุตร Niruwan Turnbull นิรุวรรณ เทิร์นโบล์ Mahasarakham University. The Faculty of Public Health |
Keywords: | เรียนรู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 healthy food consumption learning blood sugar level type 2 diabetes patients |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Diabetes is an incurable chronic disease, however, patients can adjust their self-care behaviors to better their lives. A quasi-experimental study to investigate the effects of capacity building on healthy food consumption learning (Plate Method) program to the glycemic control behavior of type 2 diabetic patients responsible area of Thanya Health Promotion Hospital Kamalasai District Kalasin Province with randomized controlled trial of 70 patients. The experimental group and the comparison group were 35 persons. Research tools included empowering activities program. Data were collected by using interview form. Data were analyzed by descriptive statistics: percentage, mean, and standard deviation. Paired Sample T-test is an independent sample t-test and Z-test.
The study indicated that after the experiment the experimental group had a mean score on knowledge of diabetes, Self-efficacy in practice, Perception of expectations in the results of practice and self-care behaviors to control blood sugar had increased than before the experiment, as well as when compared with the comparison group, there were significantly better changes in all aspects (p-value < 0.05). It was also found that the experimental group had the number of blood glucose control more than 54.3%.
In conclusion, the key success factors of this study was an to change their of type 2 diabetic patients behavior as using healthy food consumption learning or plate method, sharing experiences from the successfully role model. As a result, have a confidence in changing behavior and blood sugar control can be achieved. โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ดำรงชีวิตที่ดีขึ้นได้ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพโดยเรียนรู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (Plate Method) ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตามเกณฑ์ จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมตามโปรแกรมการเสริมสร้างศักยภาพ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Sample t-test Independent Sample t- test และ Z-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติ การรับรู้ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติ และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการทดลองและเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ มีการเปลี่ยนแปลงดีที่ดีขึ้นมากกว่าในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และพบว่ากลุ่มทดลองมีจำนวนผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ร้อยละ 54.3 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นและส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ โดยสรุป ประเด็นสำคัญที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพหรือ Plate Method ร่วมถึงการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากบุคคลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย |
Description: | Master of Public Health (M.P.H.) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/263 |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59011480010.pdf | 5.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.