Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/266
Title: Development of Oral Health Promotion Model for Preschool Children by the People Participation in Child Development Center of Muenwai Subdistrict Administration Organization, Muenwai Subdistrict, Muang District, Nakhonratchasima Province
การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.หมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
Authors: Panitan Sonpanao
ปณิธาน สนพะเนา
Santisith Khlewkhern
สันติสิทธิ์ เขียวเขิน
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การมีส่วนร่วม
เด็กก่อนวัยเรียน
Development
Participation
Preschool children
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:       This action research aimed to study the development of oral health promotion model for preschool children by the people participation in Child Development Center of Muenwai Subdistrict Administration Organization, Muenwai Subdistrict, Muang District, Nakhonratchasima Province. Target group have 114 people. The data collected with two methods including quantitative and qualitative with employed 114 people to participation with questionnaire, group discussion,  interviews and observation. Descriptive statistics were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, minimum, maximum. In addition, an inferential statistics as a Paired sample t-test.       The finding revealed that the development of oral health promotion model for preschool children by the People Participation was arising from the participation of the community idea.  Parents and networks participating in the research had been involved in eight stages of development included : 1) Study community context 2) Analyze problems and workshop together 3) Construct action Plan 4) Implement the plan  5) Observe, monitor and evaluate the plan 6) Compare the results 7) Summarie the results and 8) Reflect the results. The results showed that after the development, there was an increase in the mean score of knowledge, attitude, practice, Participation and activity satisfaction , and the scores of Plaque Index (PI) for children have improved significantly difference after the implementation had been significantly at (p-value<0.001). In addition, the Child Development Center has passed the criteria for evaluating the quality of the child center, both in terms of activities and outcomes. The result also found that preschoolers have increased cavity free.       In summary, this model was created to community context. The key success factors comprised as create community participation in activities that operate in the area, and have to good techniques to empowerment of parents’ recognition of the importance of oral health, including the continuous activity and emphasis with stakeholders in community.
      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.หมื่นไวย ต.หมื่นไวย อ.เมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 114 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และแบบวัดปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ในเด็ก ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และการสังเกต ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติ Paired sample t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา       การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนครั้งนี้ มี 8 ขั้นตอน ได้แก่    1) ศึกษาบริบทพื้นที่ 2) วิเคราะห์ปัญหาร่วมกันและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) ดำเนินการตามแผน 5) สังเกต ติดตามและประเมินผล 6) เปรียบเทียบผล 7) สรุปผล และ 8) สะท้อนผลลัพธ์ร่วมกัน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ เจตคติ พฤติกรรม การส่วนร่วมและความพึงพอใจในกิจกรรม ส่วนเด็กก่อนวัยเรียนมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) อีกทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ผ่านเกณฑ์ประเมินศูนย์เด็กเล็กคุณภาพทั้งด้านการดำเนินกิจกรรมและด้านผลลัพธ์ และพบว่าเด็กก่อนวัยเรียนมี Cavity free เพิ่มขึ้น       โดยสรุปการดำเนินงานนี้เกิดแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จได้แก่ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมที่ดำเนินงานในพื้นที่ และมีเทคนิคที่ดีในการเสริมพลังให้ผู้ปกครองเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพช่องปากเด็ก รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องในชุมชน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/266
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011480025.pdf5.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.