Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2683
Title: The Development of PID Controller by Chess Algorithm
การพัฒนาตัวควบคุมพีไอดีด้วยขั้นตอนวิธีหมากรุก
Authors: Sitthisak Audomsi
สิทธิศักดิ์ อุดมศรี
Worawat Sa-Ngiamvibool
วรวัฒน์ เสงี่ยมวิบูล
Mahasarakham University
Worawat Sa-Ngiamvibool
วรวัฒน์ เสงี่ยมวิบูล
worawat.s@msu.ac.th
worawat.s@msu.ac.th
Keywords: การควบคุมการสร้างอัตโนมัติ
ระบบควบคุมพีไอดี
เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด
การเพิ่มประสิทธิภาพจับกลุ่มอนุภาค
วิธีหมากรุก
Automatic Generation Control
PID Control
Optimization Technique
Particle Swarm Optimization
Chess Algorithm
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis presents the application of the technique of chess to find the optimal values for designing a PID control system in the automatic power generation control system of a non-linear energy heat link between two power plants. It utilizes objective functions to find all control parameters. There are two objective functions: the integral of absolute error multiplied by time (ITAE) and the integral of squared error multiplied by time (ITSE). These functions analyze the system's performance based on the maximum wave amplitude, system settling time, and power change in the transmission line, including the overall system error. Simulating the operation of a thermal power plant system in two areas and comparing it with a PID control system that uses an optimal value search technique called particle swarm optimization, we found that the PID control system using the gradient descent method provided a better response. The PID controller utilizes the particle swarm optimization technique to find the optimal value.
วิทยานิพนธ์เล่มนี้ นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคนิคหาค่าเหมาะที่สุดด้วยวิธีหมากรุก เพื่อออกแบบตัวควบคุมชนิด PID ในระบบการควบคุมการผลิตไฟฟ้าอัตโนมัติของการเชื่อมโยงโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนในสองพื้นที่แบบไม่เป็นเชิงเส้น โดยใช้ฟังก์ชันวัตถุประสงค์สำหรับการหาค่าตัวควบคุมทั้งหมด 2 ฟังก์ชันวัตถุประสงค์ คือ ปริพันธ์ของค่าความผิดพลาดสัมบูรณ์คูณด้วยเวลา (ITAE) และ ปริพันธ์ของค่าความผิดพลาดกำลังสองคูณด้วยเวลา (ITSE) โดยวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบจากค่าลูกคลื่นสูงสุด เวลาเข้าที่ของระบบในแต่ละพื้นที่ และค่าการเปลี่ยนแปลงกำลังในสายส่ง รวมไปถึงค่าความผิดพลาดรวมของระบบ ซึ่งจากการจำลองการทำงานของระบบการเชื่อมโยงโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนในสองพื้นที่ โดยเปรียบเทียบการทำงานกับระบบที่ใช้ตัวควบคุมชนิด PID ที่ใช้การปรับค่าด้วยการหาค่าที่เหมาะสมด้วยวิธีฝูงอนุภาค พบว่า ตัวควบคุมชนิด PID ที่ใช้เทคนิคหาค่าเหมาะที่สุดด้วยวิธีหมากรุก ให้ผลตอบสนองที่ดีกว่าตัวควบคุมชนิด PID ที่ใช้เทคนิคหาค่าเหมาะที่สุดด้วยวิธีฝูงอนุภาค
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2683
Appears in Collections:The Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65010353006.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.