Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/269
Title: Development of Surveillance System for Malaria Prevention and Control in Huai Kha Sub-district, Buntharik District, Ubon Ratchathani Province
การพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Prasert Surapon
ประเสริฐ สุระพล
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง
โรคมาลาเรีย
การเฝ้าระวัง
การป้องกัน
การควบคุม
Development of surveillance system
Malaria
Surveillance
Prevention
Control
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study Participatory Action Research to develop a surveillance system for malaria prevention and control in Huai Kha Sub-district, Buntharik District, Ubon Ratchathani Province. Apply PAOR concept to 39 specific target groups. Qualitative and quantitative data analysis. Knowledge and participation Using the program. Descriptive statistics Frequency, percentage, mean, and standard deviation. And qualitative data analysis. By classification. Compile links and generate conclusions. The development model is suitable for operation in the area is 7 steps 1) Study the context of the area. 2) Appoint the research committee. 3) Collect quantitative and qualitative data and study the participatory model. 4) 1 personnel (restoration of staff knowledge) 2 materials (survey and distribution of nets) Purchase of spraying machine) the budget has 1 activity (using the board format.  1) Project Management (Development of Surveillance System). 5) Implementation of Project Plan. 6) Evaluation, Monitoring, Evaluation and Evaluation. 7) Exchange of lessons Summarize the problem and reflect. After development, Targeted people have more knowledge about malaria. (Before development was at a high level of 77.27 percent after development was at a high level of 100.00 percent) and the target group was involved in the prevention and control of malaria. (Before mean = 2.13, S.D. = 0.14 after mean = 2.60, S.D. = 0.10). The success factor of the surveillance network development model. Malaria control in Tambon Huai Kha, Buntharik District, Ubon Ratchathani Province It is the policy of the management of the area clearly. And have a proactive style. By enhancing opportunities. And encourage all sectors to participate. The four resources are human resources, material resources and equipment. 1) Surveillance 2) Prevention and 3) Disease Control Development Malaria Prevention and Control System, Tambon Huai Kha, Buntharik District, Ubon Ratchathani Province. To be effective and sustainable.
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ใช้แนวคิด PAOR กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกแบบเจาะจง 39 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ความรู้และการมีส่วนร่วม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจำแนกประเภทข้อมูล ประมวลความเชื่อมโยงและสร้างข้อสรุป รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานที่มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานในพื้นที่ มี 7 ขั้นตอน 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ 2) แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาวิจัย 3) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพและศึกษารูปแบบการสร้างการมีส่วนร่วม 4) ประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดแผนงาน ประกอบด้วย 5 โครงการตามรูปแบบการพัฒนา 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร 1 โครงการ (ฟื้นฟูองค์ความรู้เจ้าหน้าที่) ด้านวัสดุครุภัณฑ์ 2 โครงการ (การสำรวจและกระจายมุ้งชุบน้ำยา การจัดซื้อเครื่องพ่นละอองฝอย) ด้านงบประมาณมี 1 กิจกรรม (ใช้รูปแบบคณะกรรมการ พชอ.ระดับพื้นที่ และทีม SRRT ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร) และด้านบริหารจัดการ 1 โครงการ (พัฒนาระบบเฝ้าระวัง) 5) นำแผนงานโครงการไปสู่การปฏิบัติ 6) การประเมินผล สังเกต นิเทศ ประเมิน และ 7) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียน สรุปปัญหาและสะท้อนผล หลังการพัฒนาพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้น (ก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับสูงร้อยละ 77.27 หลังการพัฒนาอยู่ในระดับสูงร้อยละ 100.00) และกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับสูง (ก่อน mean = 2.13, S.D. = 0.14 หลัง mean = 2.60, S.D. = 0.10) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของรูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานเครือข่ายการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี คือการกำหนด นโยบายในระดับพื้นที่ของผู้บริหารอย่างชัดเจน และมีรูปแบบการทำงานเชิงรุก โดยเสริมสร้างโอกาส และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ระดมทรัพยากรทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุครุภัณฑ์ และด้านการบริหารจัดการ ครอบคลุมทั้ง 3 ภารกิจ คือ 1) การเฝ้าระวัง 2) การป้องกันและ 3) การควบคุมโรค พัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ให้สามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/269
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59051480007.pdf5.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.