Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/270
Title: The Development Model for Pharmaceutical Care in Rational Drugs Use of Type 2 Diabetic Patients in Namyuen Hospital, Namyuen District, Ubon Ratchathani Province
การพัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลน้ำยืน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Kuppiya Paniwan
กัปปิยะ ปาณิวรรณ
Songkramchai Leethongdee
สงครามชัย ลีทองดี
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
การบริบาลเภสัชกรรม
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
Rational Drugs Use
Pharmaceutical Care
Type 2 Diabetes Mellitus
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Appropriate drugs utilization management of patients is a key principle of Rational Drugs Use (RDU), especially among chronic diseases group. This action research aimed to develop a model of pharmaceutical care for rational drugs use  in type 2 diabetic patients at Nam Yuen Hospital, Nam Yuen District, Ubon ratchathani Province. The target group was randomized selection of 133 health professionals and type 2 diabetic patients. The instruments used for data collection were created questionnaires and assessment forms. Data were analyzed using descriptive statistics: mean, percentage, and standard deviation. Qualitative data were collected by observing and recording and analyses by content analysis technique. The research results found that the development process consists of 8 steps: 1)  the contextual study, 2) appointed the leading team, 3) collect and analyze data, 4) planning 5) implementation, 6) observation and monitoring, 7) evaluation and 8) the lessons learned.  It was found that significantly increasing in knowledge and participation in RDU care in the providers. In the group of patients, there was a significant increasing in knowledge of RDU activity. As a result, the hospital has passed a rational evaluation of the RDU indicators, although there are some indicators that are not yet met, however, we can see positive improving implementation on RDU criterion. It was found that the new primary care model called TEAM-FC was developed which was based on the principle "Good information, - Empirical evidence, - Generating the awareness, - Follow-up, - Reflection, - Solve problems with the team " In summary, the key success factors comprised of the participation and cooperation of health professionals’ teams at all levels. This study will be benefited to the system clinical practice guideline combined with the evidence based on local health information including. strong policy support at the provincial and national level.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์พัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลน้ำยืน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการบริบาลเภสัชกรรมและแนวคิดการเข้าถึงยาอย่างสมเหตุผล กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 133 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสังเกตและบันทึก และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการวิจัย พบว่าขั้นตอนการพัฒนาครั้งนี้ ประกอบด้วย 8  ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ 2) การแต่งตั้งคณะดำเนินงาน 3) การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 4) การวางแผนงาน 5) การดำเนินงานตามแผน 6) การสังเกตและติดตาม 7) การประเมินผล และ 8) การถอดบทเรียน ภายหลังได้ปฏิบัติตามกระบวนการดังกล่าว พบว่าผู้ให้บริการมีความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในการจัดบริการเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลดีขึ้น ในกลุ่มผู้ป่วยก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้น  และส่งผลให้โรงพยาบาลผ่านการประเมินตัวชี้วัดด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเด็นสำคัญแม้ว่าจะมีบางตัวชี้วัดบางประการที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ แต่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานที่ดีขึ้น ทำให้ค้นพบรูปแบบเบื้องต้นเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล  ที่เรียกว่า TEAM-FC ที่มีหลักการคือ “ข้อมูลดี มีหลักฐานเชิงประจักษ์ สรรสร้างความตระหนักรู้ ติดตามดูแล สะท้อนแก้ปัญหาด้วยทีม” โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานครั้งนี้ คือการมีส่วนร่วมและร่วมมือกันของทีมสหวิชาชีพในทุกระดับในพื้นที่ การมีระบบสะท้อนกลับข้อมูลโดยอ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ การมีและยอมรับแนวทางเวชปฏิบัติร่วมกัน รวมถึงการมีนโยบายสนับสนุนทั้งในระดับจังหวัด และในระดับกระทรวงสาธารณสุข
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/270
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59051480009.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.