Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/274
Title: | Transmission Process Instrumental and the Adjustment Thai Music by Dr. Sirichaichan Fachamroon National Artist Music Thailand.
กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงและการปรับวงดนตรีไทยของ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ |
Authors: | Pranee Phianchana ปราณี เพียรชนะ Suradit Phaksuchon สุรดิษ ภาคสุชล Mahasarakham University. College of Music |
Keywords: | กระบวนการถ่ายทอด การบรรเลง การปรับวง ดนตรีไทย Process of transferring Play adjustment Thai Music |
Issue Date: | 30 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Dr. Sirichaichan Fachamroon is a performer in the transferring and adjustment of the Thai Music and recruited as National Artist Performing Arts (Thai Music), The purpose of this research was to determine 1). Study the history and work of Dr. Sirichaichan Fachamroon, National artist. 2) Study the process of transferring and the adjustment of Thai Music by Dr. Sirichaichan Fachamroon by means of documentation and data collection in the field, 2 interviewees and 6 recipients were interviewed, The tools used to collect data are: Structured and unstructured interviews and to present its findings by means of descriptive analysis.
The research found that 1) History and workings of Dr. Sirichaichan Fachamroon, National artist. It has an important role in the the transferring and adjustment of Thai music accepted by people in the Thai music industry. 2) The process of transferring the Thai music of Dr. Sirichaichan Fachamroon, teaching the playing skills of Kong Wong Yai, Sitting,Wooden handle, Chasing, The transmission of the song starts with the “Satukan” song. The students must study the first song to finish the song in the evening prelude suite. Then, broadcasting the ritual music, vine song or slow song. The teaching method will focus on the playing skills rather than the song. Teach step by step, teaching a jargon and explained. Demonstrate that students understand and follow correctly. There is a collective practice and adjust the band in the same class. The students can play properly and melodically according to the principles of Dr. Sirichaichan Fachamroon. The process of adjusting the band began with the selection of instrumentalists suitable for the instrument, choose the right song for the job and the main song or the main by Kong Wong Yai. Then, navigate to the main melody is a variant of the engine. Then came the band, adjust the play to unison. Finally, to adjust the special strategies to harmonize the melody and more melodious. ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ เป็นผู้มีผลงานทางด้านการถ่ายทอดการบรรเลงและการปรับวงดนตรีไทย ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปี พ.ศ. 2557การวิจัยในครั้งนี้กำหนดความมุ่งหมายไว้เพื่อ 1) ศึกษาประวัติ และผลงานของดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ 2) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงและการปรับวงดนตรีไทยของดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ด้วยการสัมภาษณ์ผู้รู้ จำนวน 2 คน และผู้ได้รับการถ่ายทอด จำนวน 6 คน จากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติและผลงานดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ ได้มีบทบาทสำคัญทางด้านการถ่ายทอดการบรรเลงและปรับวงดนตรีไทยเป็นที่ยอมรับของคนในวงการดนตรีไทย 2)กระบวนการถ่ายทอดดนตรีไทยของ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ จะสอนทักษะการบรรเลงฆ้องวงใหญ่ การนั่ง การจับไม้ การไล่เสียง การถ่ายทอดบทเพลงจะเริ่มจากเพลงสาธุการ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนเป็นเพลงแรกจนจบเพลงในชุดโหมโรงเย็น แล้วจึงถ่ายทอดเพลงเรื่อง เพลงพิธีกรรม และเพลงเถาต่อไป วิธีการสอนจะมุ่งเน้นทักษะการบรรเลงมากกว่าบทเพลง สอนทักษะอย่างเป็นขั้นตอน โดยการสอนแบบมุขปาฐะ มีการอธิบาย การสาธิตให้ผู้เรียนเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง มีการปฏิบัติรวมวง และปรับวงเบื้องต้นในชั่วโมงเรียนควบคู่กันไป ทำให้ผู้เรียนสามารถบรรเลงได้อย่างถูกต้องและไพเราะหลักการปรับวงของ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ จะเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกผู้บรรเลงที่เหมาะกับเครื่องดนตรี เลือกเพลงที่เหมาะสมกับงาน การถ่ายทอดเพลงทางหลักหรือทางฆ้องวงใหญ่ แล้วนำทางหลักไปแปรทำนองเป็นทางของแต่ละเครื่องมือ จากนั้นมารวมวง ปรับแนวการบรรเลงให้พร้อมเพรียงกัน และสุดท้ายปรับกลวิธีพิเศษต่างๆ เป็นการตบแต่งทำนองเพลงให้กลมกลืนและมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น |
Description: | Master of Music (M.M.) ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/274 |
Appears in Collections: | College of Music |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56012081007.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.