Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2756
Title: | THE DEVELOPMENT OF PRODUCT OF THE TRICOLOR BATIK GROUP PAK PHANANG DISTRICT NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Authors: | Wasana Chayprateep วาสนา ฉายประทีป Phanat Photibat พนัส โพธิบัติ Mahasarakham University Phanat Photibat พนัส โพธิบัติ phanat.p@msu.ac.th phanat.p@msu.ac.th |
Keywords: | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ้าปาเต๊ะ The Development of Product Batik |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This thesis aimed to investigate the current situation and issues faced by the three-color fabric group in Pak Phanang District, Nakhon Si Thammarat Province, the design patterns of three-color fabric products in the same group, and the development of three-color fabric products in the same group. The researcher employed a qualitative research approach, involving document analysis and field data collection through observations, interviews, and practical workshops with a selected population of 46 individuals. This population included knowledgeable members, practitioners, and stakeholders.
The research findings revealed the following issues with the current situation and development of the three-color fabric group in Pak Phanang District, Nakhon Si Thammarat Province: 1) Product Design: group members lack design skills, resulting in a lack of product variety. There was a need for expertise in product design to diversify product offerings. Training and education programs should be organized to enhance knowledge about designing products that meet consumer demands. 2) Knowledge Transfer: the transfer of traditional knowledge in fabric painting is inadequate, as there is a lack of utilization of free time for this purpose. Short-term training programs were recommended for individuals interested in learning these skills, including schools within the district. 3) Budget Support: government agencies do not consistently allocate budgets for product design training, leading to a lack of continuity. Government organizations should consider providing budget support for training in product design to promote product diversity. 4) Marketing Knowledge: the group lacks knowledge about marketing and conducting consumer surveys to understand consumer needs. To produce products that meet consumer demand, the group should conduct surveys and establish distribution channels. 5) Public Relations: the group lacked a network and connections with other product producers. It is advisable to create an online network using platforms such as Facebook, LINE, TikTok, and YouTube to share information and facilitate online sales. This would improve communication with consumers and increase product visibility.
The design patterns of three-color fabric products were found to include the following motifs: 1) Bird Pattern, 2) Flower Pattern, 3) Fan Pattern, 4) Leaf Pattern, and 5) Tawalai Pattern. In terms of product formats, there were three primary types: 1) Three-color fabric pieces, 2) Keychains made from three-color fabric, 3) Fabric flowers used for decorating bags and baskets.
Regarding the development of three-color fabric products, it was observed that collaborative planning meetings were conducted to transform three-color fabric pieces into two types of bags, namely: Utility Bags and Drawstring Bags. Group members were able to apply their knowledge and skills to develop these products, thereby generating income and contributing to the economic well-being of the community. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) รูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ ของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ ของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร และเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์ ประชุมเชิงปฏิบัติการจากกลุ่มประชากรคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 46 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 1) ด้านการออกแบบผลิตตภัณฑ์ สมาชิกกลุ่มไม่มีทักษะด้านการออกแบบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ขาดความวิเคราะห์ของผู้บริโภคทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่มีรูปแบบที่หลากหลาย แนวทาง ควรมีวิทยากรในการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ เรื่องผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้มีความหลากหลาย 2) ด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญา ขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้ การเพ้นท์ผ้า จากรุ่นสู่รุ่นเนื่องจากไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แนวทาง ควรมีการจัดอบรมระยะสั้นให้กับผู้สนใจ และโรงเรียนที่อยู่ภายในอำเภอ 3) ด้านงบประมาณสนับสนุน หน่วยงานของภาครัฐ ไม่มีงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ที่จะจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำให้ขาดความต่อเนื่อง แนวทาง หน่วยงานของภาครัฐ ควรมีงบประมาณสนับสนุน จัดวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย 4) ด้านการตลาด ทางกลุ่มไม่มีความรู้เรื่องการตลาด และไม่ได้สำรวจความต้องการของผู้บริโภค แนวทาง กลุ่มควรมีการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อจะได้ผลิตผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และมีช่องทางการจำหน่ายสินค้า 5) ด้านการประชาสัมพันธ์ กลุ่มไม่มีเครือข่าย ขาดการเชื่อมโยงเที่ดีกับแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ขาดการนำเทคโนโลยีมาใช้ประชาสัมพันธ์สินค้า แนวทาง ควรมีการสร้างเครือข่าย มีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เช่น เพจFacebook, LINE, TikTok, YouTube เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลข่าวสาร และช่องทางการสั่งซื้อผ่านทางอินเตอร์เน็ต รูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ พบว่า ลวดลายของผ้าปาเต๊ะดีไซน์มีลายดังนี้ 1) ลายนกยูง 2) ลายดอกไม้ 3) ลายพัด 4) ลายใบไม้ และ 5) ลายเถาวัลย์ รูปแบบผลิตภัณฑ์มีเพียง 3 อย่าง ได้แก่ 1) ผืนผ้าปาเต๊ะดีไซน์ 2) พวงกุญแจที่ทำจากผ้าปาเต๊ะ 3) ดอกไม้ทำจากผ้าปาเต๊ะตกแต่งกระเป๋ากระจูด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ พบว่า มีการประชุมวางแผนร่วมกัน การดำเนินการพัฒนาจากผืนผ้าปาเต๊ะดีไซน์ มาเป็นกระเป๋า 2 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 กระเป๋าอเนกประสงค์ แบบที่ 2 กระเป๋าปากปิ๊กแป๊ก สมาชิกกลุ่มสามารถนำความรู้และทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสร้างรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อเศรษฐกิจชุมชน |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2756 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
65012454001.pdf | 8.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.