Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2757
Title: Vetiver : Product Mode Development of Vetsived, Khuankhanun District, Phatthalung Province
หญ้าแฝก : การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
Authors: Thayakorn Bamrungpanit
ทยากร บำรุงพานิช
Phanat Photibat
พนัส โพธิบัติ
Mahasarakham University
Phanat Photibat
พนัส โพธิบัติ
phanat.p@msu.ac.th
phanat.p@msu.ac.th
Keywords: หญ้าแฝก
การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์
Vetiver
Product Mode Development
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis aims to 1. to study the history of the vetiver housewives’ group, Khuan Khanun District, Phatthalung Province. 2. to study the current condition and problems of vetiver product development of the vetiver grass housewives’ group, Khuan Khanun District, Phatthalung Province. 3. to develop a product model. Vetiver grass of the vetiver housewives’ group, Khuan Khanun District, Phatthalung Province The researcher has used Qualitative research method by studying from documents. and study in the field with observation in-depth interviews with the sample group.           The research found that the wisdom of vetiver handicrafts arising from learning, skills and participating in training activities Product development from vetiver leaves organized by Petroleum Authority of Thailand the group of vetiver grass in Khuan Khanun District, Phatthalung Province has come to expand the use of the vetiver leaves in 2014. There is a product group made from the vetiver leaves. and started the product come out continuously by transferring knowledge from Mrs. Jin Thepkamnerd.           Current conditions and problems of vetiver product development were found that 1) knowledge and wisdom transfer Vetiver housewives will come to work. handicrafts from the court after working in the family by spending the night the transmission from generation to generation has not yet been transmitted. way to convey It should be made into a short training course for those who are interested. and schools in Khuan Khanun District have learned by using the policy of the Ministry of Education in reducing learning time, increasing learning time. 2) In terms of product design and development, group members do not have design knowledge. Guidelines should be provided by speakers to introduce modern product design. 3) Marketing According to the vetiver group, there is no knowledge of marketing and lack of distribution channels. The solution is to have a distribution channel on the website with a telephone number. Contact with customers from all networks. 4) Networking There is no network with new customers according to the group, no knowledge in online communication systems. Guidelines should be created with other handicrafts to exchange experiences. The page should be owned by the group. and order via Facebook.           Product development of vetiver grass The Ya Prae housewives’ group Has developed knowledge and skills in product design, able to develop products in 2 styles, namely, the 4-sided shape of the vetiver bag, the second is the vetiver bag that combines other products with the design taking into account the needs of the customers. Want consumers to get products that add value to the product, resulting in more income for the community.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของกลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกของกลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 3) พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกของกลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารและศึกษาในภาคสนาม ด้วยการสังเกต   การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง และผลการนำเสนอวิเคราะห์           ผลวิจัยพบว่า ภูมิปัญญางานหัตถกรรมหญ้าแฝก เกิดจากการเรียนรู้ ทักษะ และการเข้าร่วมกิจกรรมอบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก ซึ่งจัดโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยกลุ่มหญ้าแฝก อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง ได้มาขยายผลการใช้ประโยชน์จากใบหญ้าแฝก ในพ.ศ.2557 มีการสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก และได้เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ถ่ายทอดความรู้จากนางจินต์  เทพกำเนิด           สภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก พบว่า 1) ด้านการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญากลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝกจะมาทำงานหัตถกรรมจักสานได้ หลังจากทำอาชีพในครอบครัวแล้ว โดยใช้เวลาตอนกลางคืน การถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่นยังไม่มีการถ่ายทอด แนวทางที่จะถ่ายทอดควรจะทำเป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้นให้กับผู้สนใจ และโรงเรียนที่อยู่ในอำเภอควนขนุนได้เรียนรู้ โดยใช้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 2) ด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สมาชิกกลุ่มไม่มีความรู้ด้านการออกแบบ แนวทางควรมีวิทยากร เข้ามาแนะนำเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย 3) ด้านการตลาด กลุ่มหญ้าแฝกไม่มีความรู้เรื่องการตลาด ขาดช่องทางการจำหน่าย แนวทางแก้ไขคือ ควรมีช่องทางการจำหน่ายบนเว็บไซต์ มีเบอร์โทรศัพท์ ติดต่อกับลูกค้าทุกเครือข่าย 4) ด้านการสร้างเครือข่าย ไม่มีการสร้างเครือข่ายกับลูกค้าใหม่ ๆ ตามกลุ่มไม่มีผู้มีความรู้ทางด้านระบบการสื่อสารออนไลน์ แนวทางควรสร้างเครือข่ายกับกลุ่มหัตถกรรมอื่น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ควรมีเพจเป็นของกลุ่ม และมีการสั่งซื้อทางเฟซบุ๊ก           การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก ได้พัฒนาความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 กระเป๋าหญ้าแฝกรูปทรง 4 เหลี่ยม รูปแบบที่ 2 คือ กระเป๋าหญ้าแฝกที่นำผลิตภัณฑ์อื่นมาประสม การออกแบบคำนึงถึงความต้องการผู้บริโภค เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2757
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65012454003.pdf8.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.