Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2761
Title: | The Woven Fabric of Lan Khoi Settlement : Intergration of Conception of Creative Econmy and Product Development for Economic Value Added ผ้าทอนิคมลานข่อย : การบูรณาการแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ |
Authors: | Duangrat Wongsawangsiri ดวงรัตน์ วงศ์สว่างศิริ Thitisak Wechkama ฐิติศักดิ์ เวชกามา Mahasarakham University Thitisak Wechkama ฐิติศักดิ์ เวชกามา neoneonnong@hotmail.com neoneonnong@hotmail.com |
Keywords: | ผ้าทอนิคมลานข่อย การบูรณาการแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ The Woven Fabric of Lan Khoi Settlement Conception Creative Econmy Developmen |
Issue Date: | 30 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of this thesis are: 1) to study the local wisdom of Lan Khoi weaving fabric production. 2) to study the current situations and the problems as well as to find the best solutions for Lan Khoi weaving fabrics. 3) to make the study how to improve, how to develop and how to create the variety of product lines plus to increase the sales volume in the market. This research was a qualitative research. Data were collected from a sample of 51 people, consisting of 14 knowledgeable people, 12 practitioners, and 25 informants. Research tools were interviews, observations, focus group discussions. Present data analysis results according to research purposes, by studying from the document and studying in the field by observation and proactive interview with the sample group.
The research results that the Lan Khoi weaving wisdom is a core of local knowledge which inherited from generation to generation. The signature of Lan Khoi pattern is made from cotton and has its own outstanding patterns called “Dok Payom” which is the significant flower of the province – Phatthalung. The “Dok Payom” pattern itself has two different kinds which are “Dok Payom Lek” and “Dok Payom Yai”. The uniqueness of Lan Khoi clothing is in every single piece must have these two patterns. In Silk can be made by order if there is a demands. So far, the local weaving group has made some more products such as Sarong and scarf with more than 20 different designs. There is a design pattern based on the original and of course some new designs which are the results of trail and experiment or even caused by the imagination of those who have tried to creates variety of choice by learning from the original design pattern and that leads to NEW design. The original idea was only to sell the original product itself but later on, with the support from the Ministry of Industry processes into various products, which were designed by professional from ministry who has experience on many different kind of fabric around Thailand including the studying of raw materials used in weaving synthetic cotton which are ordered from a factory in Bangkok, the tools used for weaving, the preparation of warp yarn, weft yarn, insertion, thread winding, weaving and pattern collecting.
The present condition, the problems and the solutions of Lan Khoi weaving fabrics were found that: 1) Product aspect – only focus on the original production by using the existing patterns even though there are some new patterns and design. The solution is to create and produce a wide variety of products lines. 2) Raw materials – ordering the material from Bangkok causes delays and the failure of cotton colors in each order. The solution is massive pre-order, have exact plan. 3) Product design - not modern, no variety of choices for the customers and the markets. The solution is to create and to produce a variety of products lines such as souvenirs, home used products and other goods. 4) The consumer demand - the most important is the product itself. The color, the style may not meet the consumers’ needs. The market research and the consumer research is to be recommended before producing. 5) Marketing – selling only in the village or OTOP center is too narrow. The solution is to expand the market channel to the outsider including E-channel.
The model for the integration of creative economy concepts in developing the textile products at Lan Khoi Estate uses 3 concepts. 1) Creation - to create a variety of products line that meet the consumers’ needs and are suitable for using. 2) Value Added - by using the concept of product development based on the possibility of production, has brought ideas and local wisdom to help in weaving pattern design in the processing of products, traditional sewing methods are used. But increase durability by using a sewing machine. 3) Bringing the product to the commercial market - by creating a new business network. Public relations advertising has expanded through online internet, websites, product marketplaces, by expanding to other distribution sources, sold by the government distributed by organizing a market in the community.
Summary of development of textile products at Lan Khoi Estate by using the integration of the creative economy concept. Design and always thinking of the consumers’ needs. Create the new product lines to add up the value to the product itself and to increase the income of the community. งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตผ้าทอนิคม ลานข่อย 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการจัดการแก้ปัญหาผ้าทอนิคมลานข่อย 3) เพื่อศึกษารูปแบบการบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 51 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้จำนวน 14 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 12 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต การสนทนากลุ่ม นำเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายการวิจัย โดยการศึกษาจากเอกสารและศึกษาในภาคสนามด้วยการสังเกต และสัมภาษณ์เชิงรุกกับกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่าภูมิปัญญาการทอผ้านิคมลานข่อยเป็นองค์ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และการถ่ายทอดสืบต่อกันมา ชนิดของผ้าและลวดลายพบว่าเป็นผ้าฝ้ายทอมือมีลวดลายเด่นชัด คือ ลายดอกพะยอมเล็ก ลายดอกพะยอมใหญ่ ทุกผืนผ้าต้องมี 2 ลายนี้อยู่ในผืนผ้าเป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากดอกพะยอมเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด บางครั้งก็มีผ้าไหมหากผู้บริโภคต้องการ กลุ่มทอผ้าได้ทำเป็นผ้านุ่ง ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ มีลวดลายมากกว่า 20 ลาย มีการออกแบบลวดลายโดยยึดลายเดิมที่ได้รับการถ่ายทอด มีการลองผิดลองถูกเพื่อให้เกิดลายใหม่ บางครั้งเกิดจากการจินตนาการของผู้ที่ดัดแปลงไปจากลายเดิม การออกแบบผลิตภัณฑ์เดิมเน้นการจำหน่ายเฉพาะผืนผ้า ต่อมาได้มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งการออกแบบโดยอาจารย์จากกระทรวงอุตสาหกรรมมาช่วย และได้จากประสบการณ์ที่ไปศึกษาดูงาน วัตถุดิบที่ใช้ในการทอผ้าฝ้ายสังเคราะห์สั่งมาจากโรงงานที่กรุงเทพฯ เครื่องมือที่ใช้ในการทอใช้กี่กระตุก ประกอบด้วยขั้นตอนการเตรียมด้ายยืน ด้ายพุ่ง การสอดฟันฟืม การม้วนด้าย การทอผ้า การเก็บลาย สภาพปัจจุบันปัญหาและแนวทางแก้ไขของผ้าทอนิคมลานข่อยพบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ เดิมผลิตเฉพาะผืนผ้าอย่างเดียว ยึดลวดลายแบบเดิมหรือสร้างลายใหม่และดัดแปลงลายที่แปลกไปจากลายเดิม แนวทางแก้ไขคือ ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย โดยการแปรรูปจากผืนผ้าเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ 2) ด้านวัตถุดิบ สั่งจากกรุงเทพฯ ทำให้เกิดการล่าช้าและสีของฝ้ายแตกต่างกัน หากไม่ได้สั่งในเวลาเดียวกัน แนวทางแก้ไขคือ สั่งล่วงหน้า มีการวางแผน 3) ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตในรูปแบบเดิมไม่ทันสมัย ไม่มีความหลากหลาย แนวทางแก้ไขคือ ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของใช้ 4) ด้านความต้องการของผู้บริโภค คือ ผลิตภัณฑ์ บางผืนสีไม่ต้องกับความต้องการ ผลิตในรูปแบบเดิม ไม่ทันสมัย ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค แนวทางการแก้ไขคือ ต้องสำรวจความต้องการของกลุ่มลูกค้าก่อนการผลิต 5) ด้านการตลาด คือ ช่องทางจำหน่ายเฉพาะในหมู่บ้านหรือที่ทำการกลุ่ม หรือศูนย์ OTOP เป็นหลัก แนวทางแก้ไขคือ ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายนอกพื้นที่ รวมทั้งการจำหน่ายผ่านทางอินเตอร์เน็ต รูปแบบการบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอนิคมลานข่อย ใช้ 3 แนวคิด คือ 1) การสร้าง นำมาใช้การสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มีความเหมาะสมในการใช้งาน 2) การผลิตที่เพิ่มมูลค่า โดยใช้แนวคิดในการพัฒนาสินค้าบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ในการผลิต ได้นำแนวคิดและภูมิปัญญาพื้นบ้านเข้ามาช่วยในการทอ การออกแบบลวดลาย ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใช้วิธีการเย็บแบบดั้งเดิม แต่เพิ่มความทนทานด้วยการใช้จักรเย็บ 3) การนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดเชิงพาณิชย์ โดยการสร้างเครือข่ายธุรกิจคือ การรวมกลุ่มกับผู้ประกอบอื่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์มีการขยายทางอินเตอร์เน็ตออนไลน์ เว็บไซต์ ตลาดจำหน่ายสินค้า โดยขยายไปแหล่งจำหน่ายอื่น จำหน่ายโดยส่วนราชการ จำหน่ายโดยจัดตลาดในชุมชน สรุปการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอนิคมลานข่อย โดยใช้การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีการสร้างสรรค์และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2761 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
65012491002.pdf | 11.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.