Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2776
Title: | Development of Knowledge Management Guidelines for Educational Institutions Under The Office of Nakhon Ratchasima Secondary Education Service Area การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา |
Authors: | Korrakot Watkhaolam กรกต วัดเข้าหลาม Lakkhana Sariwat ลักขณา สริวัฒน์ Mahasarakham University Lakkhana Sariwat ลักขณา สริวัฒน์ lakkana.sa@msu.ac.th lakkana.sa@msu.ac.th |
Keywords: | การจัดการความรู้ การพัฒนาแนวทาง วงจรคุณภาพเดมมิ่ง Knowledge management The developing guidelines Deming cycle |
Issue Date: | 14 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of this research are to study the current conditions, desirable conditions and the needs for Knowledge Management of schools under Nakhorn Ratchasima Secondary Educational Service area office and to develop the Knowledge Management of them. There are 2 phases of this research, phase 1, to study current conditions, desirable conditions and the needs for Knowledge Management of schools under Nakhorn Ratchasima Secondary Educational Service Area Office. The study samples were groups of 92 schools’ administrators and 249 of teachers obtained by opening the Krejcie and Morgan chart, then used the stratified random sampling method. Each school divided by sizes. Then, use the Simple Random Sampling method to find out the number of the study samples and got 341 of them. The research covered the questionnaire form as the tool and analyzed by using the basic statistics. Phase 2, to develop guidelines for knowledge management of schools under Nakhorn Ratchasima Secondary Educational Service Area Office. The specific sample groups were 4 of schools’ administrators and teachers, 5 of the experts and 5 of the senior experts by interviewing and analyzed by the data analysis method. The result appear as follows,
1. The current conditions for knowledge management of schools under Nakhorn Rathasima Secondary Educational Service Area Office were at the average level, the overall of desirable conditions were at the highest level and rank of needs form the highest to the lowest were as follow, sharing knowledge, bringing the knowledges to the practice, creating and seeking knowledges, processing and screening the knowledges, the indicating of knowledge and the systematics of knowledge management.
2. Knowledge management guideline of school under Nakhorn Rathasima Secondary Educational Service Area Office using Deming cycle (PDCA) implemented in 6 steps, 30 guidelines as follow, 5 guidelines of knowledge identification procedures, 5 guidelines of creating and seeking knowledges, 5 guidelines of systemizing knowledge management, 5 guidelines of sharing knowledge, 5 guidelines of processing and screening the knowledge, 5 guidelines of bringing the knowledges to the practice.
The 6 steps follow the Deming cycle (PDCA) processes as follows, (P) Plan is the cooperate planning of the schools’ administrators and the teachers for knowledge management. (D) Do is the implementation for knowledge management of the school through the various methods. (C) Check is the schools’ administrators monitor and check the results of performance of all teachers. (A) Act is monitoring and collecting information the reflect the results back to all the interested people. The overall suitability assessment and the overall feasibility assessment were at the high level. การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการจัดการความรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา และเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น การจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 92 คน และครูผู้สอน จำนวน 249 คน ได้มาโดยเปิดตารางของ Krejcie and Morgan แล้วใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแต่ละโรงเรียนแบ่งตามขนาดโรงเรียน และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้จำนวน 341 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านการนำความสู่การปฏิบัติ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ด้านการบ่งชี้ความรู้ และด้านการจัดความรู้ให้เป็นระบบ 2. แนวทางการจัดการความรู้ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยวิธีการตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) มีการดำเนินการ 6 ขั้นตอน 30 แนวทาง ได้แก่ ขั้นตอนการบ่งชี้ความรู้ 5 แนวทาง ขั้นตอนการสร้างและแสวงหาความรู้ 5 แนวทาง ขั้นตอนการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ 5 แนวทาง ขั้นตอนการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ 5 แนวทาง ขั้นตอนการประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5 แนวทางและขั้นตอนการนำความสู่การปฏิบัติ 5 แนวทาง ทั้ง 6 ขั้นตอนดำเนินการตามกระบวนการของวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) ได้ดังนี้ (P) Plan คือการวางแผนร่วมกันของผู้บริหารและครูผู้สอนในการจัดการความรู้ (D) Do คือการดำเนินการจัดการความรู้ของสถานศึกษาด้วยวิธีการต่าง ๆ (C) Check ผู้บริหารสถานศึกษา มีการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานของครูทุกท่าน และ (A) Act คือมีการตรวจสอบเก็บรวบรวมสารสนเทศ และสะท้อนผลย้อนกลับสู่ผู้ที่สนใจ โดยผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2776 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63010581003.pdf | 4.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.