Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2779
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKanjanee Chobsiangen
dc.contributorกาญจนี ชอบเสียงth
dc.contributor.advisorDussadee Lebkhaoen
dc.contributor.advisorดุษฎี เล็บขาวth
dc.contributor.otherMahasarakham Universityen
dc.date.accessioned2025-05-07T11:40:00Z-
dc.date.available2025-05-07T11:40:00Z-
dc.date.created2024
dc.date.issued10/1/2024
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2779-
dc.description.abstractThe objectives of this study are 1) to develop instruments to measure self-compassion, metacognition, and motivation to change, 2) to study the level of self-compassion metacognition, and motivation to change. 3) study the role of metacognition in the relationship between self-compassion and motivation to change, and 4) study the influence of genders and offense types on the relationship between self-compassion and motivation to change on special measures in lieu of judgment juvenile delinquent. In the development of this research instruments, a scoping review was carried out and selected instruments based on criteria for selecting instruments that were studied in a similar population and are currently used. The instruments were translated into Thai using the principles of cross-cultural translation. The quality of the instruments were investigated by five-expert before being tried out on the samples. The subjects in this study were juveniles who were provisional released to the court and came to counseling at the Corrected rehabilitation treatment at the counseling center, Khon Kaen Juvenile and Family Court, 74-participant. The sample size were calculated with G*Power software for multiple regression analysis and selected with a purposive sampling. The instruments used consisted of a general data checklist, the Self-compassion Scale-Short Form (SCS-SF-12), the Metacognitions Questionnaire-30 (MCQ-30) and the Personal Aspiration and Concerns Inventory for Offenders (PACIO). The findings are summarized as follows: 1. The results of the development of research instruments in Thai was found that all instruments passed the preliminary agreement testing test of data analysis. The Self-compassion Scale-Short Form (SCS-SF-12), the Metacognitions questionnaire-30 (MCQ-30), and the Personal Aspiration and Concerns Inventory for Offenders (PACIO) have index of item objective congruence (IOC) between .08-1.00. The content validity index (CVI) of 1.00, .97, and 1.00 has reliability with Cronbach's alpha coefficient (α) of .72, .75, and .84, respectively. 2. The majority of samples were males (89.20%) and committed non-violent offences (73.00%). The level of self-compassion, metacognitive level, and motivation to change were moderate. 3. Metacognition is a mediator of the relationship between self-compassion and motivation to change on special measures in lieu of judgment juvenile delinquency statistically significant at .001 with a positive direct effect of 51.26. 4. Genders and offense types are mediators of the relationship between self-compassion and motivation to change on special measures in lieu of judgment juvenile delinquency statistically significant full moderation effect of .05en
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือวัดความเมตตาต่อตนเอง อภิปัญญา และแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง 2) ศึกษาระดับความเมตตาต่อตนเอง อภิปัญญาและแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง 3) ศึกษาบทบาทของอภิปัญญาที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเมตตาต่อตนเองและแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง และ 4) ศึกษาอิทธิพลของเพศและประเภทคดีที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเมตตาต่อตนเองกับแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงของเด็กและเยาวชนที่ศาลมีคำสั่งใช้มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี ในการพัฒนาเครื่องมือวิจัยครั้งนี้มีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและคัดเลือกเครื่องมือวิจัยโดยมีเกณฑ์คัดเลือกเครื่องมือที่มีการศึกษาในกลุ่มประชากรที่มีความใกล้เคียงกันและยังใช้งานในปัจจุบัน จากนั้นนำแปลเป็นภาษาไทยโดยใช้หลักการแปลข้ามวัฒนธรรม และมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กและเยาวชนที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวและมาเข้ารับการให้คำปรึกษา แก้ไขบำบัดฟื้นฟู ณ ศูนย์ให้คำปรึกษา ฯ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น จำนวน 74 คน ซึ่งคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power สำหรับการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และมีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเมตตาต่อตนเอง แบบวัดอภิปัญญา และแบบวัดแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง ผลการวิจัยสรุป ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาเครื่องมือวิจัยเป็นภาษาไทย พบว่าเครื่องมือวิจัยทุกฉบับผ่านการทดสอบการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบบวัดความเมตตาต่อตนเอง (the Self-compassion Scale-Short Form; SCS-SF-12) แบบวัดอภิปัญญา (the Metacognitions questionnaire-30; MCQ-30) และแบบวัดแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง (the Personal Aspiration and Concerns Inventory for Offenders; PACIO) มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์ (index of item objective congruence: IOC) อยู่ระหว่าง.08-1.00 ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (content validity index; CVI) ทั้งฉบับเท่ากับ 1.00, .97 และ 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient; α) เท่ากับ .72, .75 และ .84 ตามลำดับ 2. เด็กและเยาวชนที่ศาลมีคำสั่งใช้มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี มีระดับความเมตตาต่อตนเอง อภิปัญญา และระดับแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับปานกลาง 3. อภิปัญญาเป็นตัวแปรคั่นกลาง (mediator) ของความสัมพันธ์ระหว่างความเมตตาต่อตนเองและแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงของเด็กและเยาวชนที่ศาลมีคำสั่งใช้มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเชิงบวก (direct effect) เท่ากับ 51.26 4. เพศและประเภทคดีเป็นตัวแปรกำกับ (mediators) ของความสัมพันธ์ระหว่างความเมตตาต่อตนเองและแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงของเด็กและเยาวชนที่ศาลมีคำสั่งใช้มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดีแบบเต็มตัว (full moderation effect) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectความเมตตาต่อตนเองth
dc.subjectอภิปัญญาth
dc.subjectแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงth
dc.subjectเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดth
dc.subjectเครื่องมือวัดth
dc.subjectself-compassionen
dc.subjectmetacognitionen
dc.subjectmotivation to changeen
dc.subjectjuvenile delinquencyen
dc.subjectinstrumentsen
dc.subject.classificationPsychologyen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationPsychologyen
dc.titleThe Role of Metacognition in Relationship between Self-compassion and Motivation to change on Special measures in lieu of Judgment Juvenile Delinquents : Genders and Offense types as moderatorsen
dc.titleบทบาทของอภิปัญญาที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเมตตาต่อตนเองและแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงของเด็กและเยาวชนที่ศาลมีคำสั่งใช้มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี โดยมีเพศและประเภทคดีเป็นตัวแปรกำกับth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorDussadee Lebkhaoen
dc.contributor.coadvisorดุษฎี เล็บขาวth
dc.contributor.emailadvisorDussadee.l@msu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorDussadee.l@msu.ac.th
dc.description.degreenameMaster of Education (M.Ed.)en
dc.description.degreenameการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineDepartment of Educational Psychology and Counselingen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวth
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010587008.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.