Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2790
Title: Development of academic achievement motivation of Grade 11 Students who received a learning management based on Torrance's concept of future problem-solving process in conjunction with the Gamification on the circulatory system and lymphatic system
การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ร่วมกับเกมมิฟิเคชัน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง
Authors: Punyawee Duanyai
ปุณยวีร์ ดวนใหญ่
Prasart Nuangchalerm
ประสาท เนืองเฉลิม
Mahasarakham University
Prasart Nuangchalerm
ประสาท เนืองเฉลิม
prasart.n@msu.ac.th
prasart.n@msu.ac.th
Keywords: แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน
เกมมิฟิเคชัน
กระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์
Learning achievement motivation
Gamification
Torrance’s future problem solving instructional model
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research is classroom action research. The objective is to develop the motivation for academic achievement of 5th graders to pass the 70% threshold by organizing learning based on the process of thinking about solving future problems according to Torrance's concept in conjunction with gamification. Biology on circulatory and lymphatic systems. The target group is 20 students in Grade 5. Research tools include learning plans based on the future problem-solving thinking process based on Torrance's concept in conjunction with gamification. Reflection tools include motivation, motivation, achievement. Observation of academic achievement motivation, student interviews, and student transcripts. Data was analyzed using means, percentages, and standard deviations. The research was conducted in 3 cycles. From the results of the research, it was found that in Cycle 1, students had an average achievement motivation score of 3.35, 5 students passed the criteria or 25%. Cycle 2, students had an average achievement motivation score of 3.45, There were 11 students who passed the criteria score or 55%. In Cycle 3, students had an average achievement motivation score of 3.53, There were 15 students who passed the criteria or 75%. At the end of cycles, it can be concluded that the lessons learned by the researchers in this research have helped to improve the level of learning achievement motivation.
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ร่วมกับเกมมิฟิเคชัน วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ร่วมกับเกมมิฟิเคชัน เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผล ได้แก่ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียน และอนุทินของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยดำเนินการวิจัย 3 วงจรปฏิบัติการ จากผลการวิจัย พบว่า ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.35 มีนักเรียนที่คะแนนผ่านเกณฑ์จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 มีนักเรียนที่คะแนนผ่านเกณฑ์จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 55 และในวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับมาก โดยมีเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 มีนักเรียนที่คะแนนผ่านเกณฑ์จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 75 เมื่อสิ้นสุดวงจรปฏิบัติการสามารถสรุปได้ว่าบทเรียนที่ผู้วิจัยได้นำมาใช้ในงานวิจัยนี้ช่วยพัฒนาระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้เพิ่มขึ้น
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2790
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010554015.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.