Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2791
Title: EFFECTS OF INQUIRY LEARNING COMBINED WITH USING BOARD GAMES ON THE REPRODUCTION OF FLOWERING PLANTS ON LEARNING ACHIEVEMENT AND SYSTEMS THINKING FOR ELEVENTH GRADE STUDENTS
ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับการใช้บอร์ดเกม เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดเชิงระบบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Supacha Benjamin
สุภชา เบ็ญจมินทร์
Ratchaneewan Tangpakdee
รัชนีวรรณ ตั้งภักดี
Mahasarakham University
Ratchaneewan Tangpakdee
รัชนีวรรณ ตั้งภักดี
ratchaneewan.t@msu.ac.th
ratchaneewan.t@msu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
บอร์ดเกม
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การคิดเชิงระบบ
ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้
การสืบพันธุ์ของพืชดอก
ชีววิทยา
inquiry learning
board games
learning achievement
systems thinking
satisfaction upon the learning management
reproduction of flowering plants
biology
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to compare learning achievement on the topic of reproduction of flowering plants through inquiry learning combined with using board games with 70 percent criteria for eleventh-grade students, 2) to compare systems thinking before and after inquiry learning combined with using board games for eleventh-grade students, and 3) to study satisfaction through inquiry learning combined with using board games for eleventh-grade students. The samples used in this study were 38 students in the eleventh grade in the 1st semester of the 2023 academic year at Yangtaladwittayakarn School. The research instruments included: 1) the lesson plans for biology on the topic of reproduction of flowering plants, 2) the game board; 6 game boards, 3) The achievement test, 4) The systems thinking test, and 5) The satisfaction test The data was analyzed by using the mean, percentage, standard deviation, one sample t-test, and dependent t-test. The results were as follows: 1) Eleventh-grade students who have been learning by inquiry learning combined with using board games have higher learning achievement on the topic of reproduction of flowering plants than 70 percent at a statistically significant.05 level. 2) Eleventh-grade students' who have been learning by inquiry learning combined with using board games system thinking scores after studying were higher than before studying at a statistically significant.05 level. 3) Eleventh-grade students were satisfied with the management of inquiry learning combined with using board games and overall at the highest level (x̄ = 4.48, S.D. 0.69).
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับการใช้บอร์ดเกมเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงระบบก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับการใช้บอร์ดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับการใช้บอร์ดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก จำนวน 6 แผน รวมทั้งสิ้น 9 ชั่วโมง 2) บอร์ดเกมชีววิทยา จำนวน 6 บอร์ดเกม 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบการคิดเชิงระบบ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One sample t-test และ t-test Dependent      ผลการวิจัยปรากฏดังนี้      1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับการใช้บอร์ดเกม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05      2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับการใช้บอร์ดเกม มีคะแนนการคิดเชิงระบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05      3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับการใช้บอร์ดเกมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.48, S.D. 0.69)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2791
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010554019.pdf10.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.