Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2792
Title: | The development of mathematics problem-solving ability of Mathayomsuksa 5 students by using learning management that emphasizes problem-solving processes with real-life situations การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาร่วมกับสถานการณ์ในชีวิตจริง |
Authors: | Jirayu Atthakorn จิรายุ อัตถากร Montri Thongmoon มนตรี ทองมูล Mahasarakham University Montri Thongmoon มนตรี ทองมูล montri.t@msu.ac.th montri.t@msu.ac.th |
Keywords: | ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สสวท. Mathematics Problem-Solving Ability Learning Management According to IPST |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aimed to develop the mathematics problem-solving ability of Mathayom 5 students with a score of not less than 70 percent of the full score. The target group was 30 students of Mathayom 5 room 8 in the academic year 2023 from Roi Et Wittayalai School, Mueang District, Roi Et Province. The research methodology is classroom action research, which comprises three cycles. The tools used in this research include 1) a mathematics learning plan using learning management according to IPST guidelines with a Polya method of solving problems and real problems on the topic of sequences and series, 2) mathematics problem-solving ability tests 3) student behaviour observation form 4) student interview form. The data was analyzed by using percentages. The result of this research was as follows: the ability to solve mathematics problems of Mathayom 5 students after learning about mathematics using learning management according to the guidelines. NSTDA joins in with the polya problem-solving process with real-world problems regarding sequences and series. From a total of 30 students in target groups, there were 14 students whose mathematics problem-solving abilities scored more than 70 percent of the full score, accounting for 46.67 percent of all students in the first operation cycle. In the second operational cycle, there were 21 students, accounting for 70 percent of all students. In the third operational cycle, there were 30 students, representing 100 percent of all students. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สสวท. ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาแบบโพลยาด้วยโจทย์ปัญหาสภาพจริง เรื่อง ลำดับและอนุกรม 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ มีผลการวิจัยปรากฏดังนี้ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สสวท. ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาแบบโพลยาด้วยโจทย์ปัญหาสภาพจริง เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 30 คน ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 มีนักเรียนที่มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67 ของนักเรียนทั้งหมด ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 มีจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด และในวงจรปฏิบัติการที่ 3 มีจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2792 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010554021.pdf | 6.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.