Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/282
Title: The process of the Tenrikyo in the context Isan.
การเผยแผ่หลักคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวในบริบทสังคมอีสาน
Authors: Napaporn Techathuwanan
นภาพร เตชธุวานันท์
Somkhit  Suk-erb
สมคิด สุขเอิบ
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: การเผยแผ่
ศาสนาเทนริเคียว
บริบทสังคมอีสาน
Process
Tenrikyo
Context isan
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Research on the process of The process of the Tenrikyo in the context of Isan. Aims to 1. To study the history of Tenrikyo religion. 2. To study the process of propagating the doctrine of the Tenrikyo religion in the context of Isan.  Researchers use qualitative research methodology. Using the research area of Mahasarakham province as a place to store data.  The research found that   Tenrikyo  religious Knowledge There are five elements of religion : 1) The prophetr of the religion was  a Oyachama prophet. 2) The scripture of Tenrikyo religion has three scriptures were 1) Ofudesaki (the end of  paintbrush) was  the writings by the king of Oyachama prophet in duringb 2412-2425. There are 17 parts  and total  1,711 chapters. It’s  the main most important scriptures of Tenrikyo religion. 2) Mikangura-Uta is the song that Oyachama prophet which writings by the king for Jutome 3) Osasisu is a judgment or guiding of the god.3) The disciples is a successor which Tenrikyo religion was called that “Simbasira”. There were 4 disciples which this disciples is 4th that  is called name Sengji Nakayama 4) The monastery is a church that center of the Tenrikyo religion, Tenri city,Nara province, Japan. 5) The symbol is an expression of religion of worship and sacred object for Tenrikyo religion. Jutomeis is the worship that the most important ,because it is a way to save mankind and the process that spreading of the Tenrikyo religion in  Thai cultural context were 1) The process that spreading of teaching by basic describing,which you should listen at the church in Japan. 2) The process that spreading of teaching by benefits to school or the far villedges.There is the doctrine that intervence in benefit activities. 3) The process that spreading of teaching by the treatment with hand dance (Sasuke) . Sasuke  is a hand dance for treatment patient ,which the wish of Oyangami that help people around the world for happiness as the soon. And 4) The process that spreading of teaching by  Jutome every the beginning of the month is practical of Tenrikyo religion congregation. There fore to show that the process that spreading of teaching of Tenrikyo religion,  which help a lot of people about various aspects  by doctrine of the god. The doctrine of religion the doctrine of the doctrine by the doctrine which is the doctrine at the beginning of every month. The doctrine of the doctrine is the doctrine of the ten commandments. It is evident that the missionary process of the Tariq religion is to help people in many areas. Through the doctrine of God, the doctrine of this religion is teach for good, helping people.  Listening to the teachings of the Tenrikyo religion isn’t force for change to Tenrikyo religion. But it’s listening for joyful spirit with teaching ,and in the future when find that the teachings of religion can make a better life and can turn to respect Tenrikyo religion.
งานวิจัยเรื่อง การเผยแผ่หลักคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวในบริบทสังคมอีสาน  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของศาสนาเทนรีเคียว 2. เพื่อศึกษาการเผยแผ่หลักคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวในบริบทสังคมอีสาน ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้พื้นที่วิจัยจังหวัดมหาสารคามเป็นสถานที่เก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับศาสนาเทนรีเคียวมีองค์ประกอบด้านศาสนาครบทั้ง 5 ด้าน อันได้แก่ 1) ด้านศาสดา คือ พระแม่ศาสดาเจ้าโอะยะซะมะ 2) ด้านคัมภีร์ ศาสนาเทนรีเคียวมี 3 คัมภีร์ ดังนี้ (1) โอะฟุเดะซะคิ (ปลายพู่กัน) คือ พระนิพนธ์ของพระแม่ศาสดาเจ้าโอะยะซะมะ ระหว่างปี พ.ศ. 2412 - 2425 มี 17 ภาค รวมเป็น 1,711 บท เป็นคัมภีร์หลักที่สำคัญที่สุดของศาสนาเทนรีเคียว  (2) มิคะงุระ - อุตะ คือบทเพลงที่พระแม่ศาสดาเจ้าโอะยะซะมะนิพนธ์ไว้สำหรับการปฏิบัติ จึโตะเมะ (3) โอะซะซิซุ คำชี้ขาดหรือคำชี้แนะสั่งสอนของพระผู้เป็นเจ้า 3) ด้านสาวก ผู้สืบต่อศาสนา ศาสนาเทนรีเคียวเรียกว่า“ซิมบะซิระ” ตั้งแต่เริ่มตั้งศาสนาด้วยกัน 4 ท่าน องค์ปัจจุบันนี้คือองค์ที่สี่ มีชื่อว่า ท่านเซ็งจิ  นะคะยะมะ  4) ศาสนสถาน คือ โบสถ์ศูนย์กลางของศาสนาเทนรีเคียว ตั้งอยู่ที่เมืองเทนริ จังหวัดนารา ประเทศญี่ปุ่น  5) สัญลักษณ์  คือเครื่องแสดงออกของศาสนาด้านพิธีกรรมและปูชนียวัตถุ สำหรับศาสนาเทนรีเคียวแล้ว จึโตะเมะเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นวิถีทางช่วยเหลือมนุษย์ให้หลุดพ้นและด้านกระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย  มีดังนี้ 1) กระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนโดยการบรรยายธรรม เป็นการบรรยายขั้นพื้นฐานซึ่งต้องเข้ารับฟังที่โบสถ์ประเทศญี่ปุ่น 2) กระบวน การเผยแผ่หลักคำสอนโดยการบำเพ็ญประโยชน์ ศาสนาเทนรีเคียวออกบำเพ็ญประโยชน์ไปยังโรงเรียนหรือหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ โดยการนำหลักธรรมคำสอนสอดแทรกในกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 3) กระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนโดยการรักษาผู้ป่วยด้วยการรำมือ (ซะซุเคะ) คือการรำมือรักษาผู้ป่วย ซึ่งพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าโอะยะงะมิที่มุ่งไปช่วยเหลือมวลมนุษย์ที่จะช่วยมนุษย์ทุกคนทั่วโลกให้มีชีวิตอันผาสุกเบิกบานใจโดยเร็วที่สุด และ 4) กระบวนการเผยแผ่หลักคำสอนโดยการทำจึโตะเมะทุกต้นเดือนซึ่งการทำจึโตะเมะ หมายถึง วัตรปฏิบัติของศาสนิกชนศาสนาเทนรีเคียว ดังจะเห็นได้ว่ากระบวนการเผยแผ่คำสอนของศาสนาเทนรีเคียวส่วนใหญ่แล้วจะเป็นช่วยเหลือผู้คนในด้านต่างๆ ผ่านหลักธรรมคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งคำสอนของศาสนานี้คือ สอนให้ทำความดี ให้ช่วยเหลือคนอื่น การฟังคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวก็ไม่ได้บังคับให้เปลี่ยนหรือหันมานับถือศาสนาเทนรีเคียวแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการรับฟังเพื่อให้เกิดจิตใจที่เบิกบานไปตามคำสอนและในอนาคตเมื่อเห็นว่าคำสอนของศาสนาเทนรีเคียวนั้นสามารถทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้นสามารถหันมานับถือศาสนาเทนรีเคียวอย่างเต็มที่ได้  
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/282
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57012150005.pdf6.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.