Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2833
Title: | THE DEVELOPMENT OF BLENDED LEARNING USING COOPERATIVE LEARNING WITH STAD TECHNIQUE TO ENHANCE GROUP WORKING SKILLS AND ACADEMIC ACHIEVEMENT IN COMPUTING SCIENCE OF MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่ส่งเสริมทักษะการทำงานกลุ่มและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Authors: | Supaporn Pornprapai สุภาพร พรประไพ Thapanee Seechaliao ฐาปนี สีเฉลียว Mahasarakham University Thapanee Seechaliao ฐาปนี สีเฉลียว thapanee.see@msu.ac.th thapanee.see@msu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการทำงานกลุ่ม ประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล Blended learning management Cooperative learning STAD techniques Academic achievement Group working skills Efficiency Effectiveness Index |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aimed to 1) evaluate blended learning using cooperative learning with STAD technique lesson plan for enhancing group working skills and academic achievement in computing science of Mathayomsuksa 3 students 2) find the efficiency of blended learning using cooperative learning with STAD technique following the criteria of 80/80 3) find the Effectiveness Index of academic achievement 4) find the Effectiveness Index of group working skills 5) study students’ satisfaction. The target group consisted of 30 students studying in Matthayomsuksa 3 at Ban Phu Lek School during the second semester in the academic year 2023. The instruments included 1) Blended learning using cooperative learning with STAD technique lesson plan 2) The achievement test 3) The evaluation of group working skills, and 4) The student satisfaction survey. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, and effectiveness index.
The research results were: (1) The evaluation of blended learning using cooperative learning with STAD technique lesson plan was at high level (µ= 4.86, σ= 0.0546). (2) The effectiveness of blended learning using cooperative learning with STAD technique lesson plan had standard criteria efficiency 83.80/85.80 which was relevant to the specified criterion as 80/80. (3) The effectiveness Index of academic achievement was 0.6491 which showed that the students had higher academic achievement at 64.91% (4) The effectiveness Index of group working skills was 0.7322 which showed that the students gained more group working skills at 73.22% 5) The student satisfaction toward learning activities was at the highest level (µ=4.78, σ=0.09). การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่ส่งเสริมทักษะการทำงานกลุ่มและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของทักษะการทำงานกลุ่ม 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านภูเหล็ก ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับดีมาก (µ= 4.86, σ= 0.0546) 2) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เท่ากับ 83.80/85.80 เป็นไปตามที่กำหนดไว้คือ 80/80 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.6491 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 64.91 4) ค่าดัชนีประสิทธิผลของทักษะการทำงานกลุ่ม มีค่าเท่ากับ 0.7322 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะการทำงานกลุ่มก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 73.22 และ 5) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.78 , σ = 0.09) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2833 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010583008.pdf | 24.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.