Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/284
Title: The Developing of Learning Management Supervision System Through Teacher Coaching-Mentoring with Supervisor 
การพัฒนาระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์
Authors: Somwang Puntalee
สมหวัง พันธะลี
Sutham Thamatasenahant
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาระบบ
การนิเทศการจัดการเรียนรู้
Developing System
Learning Management Supervision
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research was to The development of Learning Management Supervision system through Teacher Coaching-Mentoring with Supervisor. 1) to study components of system of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring with supervisor. 2) to study of current situation and desirable characteristics of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring with supervisor. 3) to developed of system of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring with supervisor. 4) to evaluate by using of system of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring with supervisor. This research conducted using research and development process (Research & Development). The research comprised 4 procedures as follows : Phase 1) Study of component of system of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring with supervisor Phase 2) Study of current situation and desirable characteristics of Learning Management Supervision through Teacher Coaching-Mentoring with Supervisor. The study was conducted by a sample of 291 primary school administrators in the Northeastern Educational Service Area Office Phase 3) Developing of system learning management supervision through teacher coaching-mentoring with supervisor. By needs analysis (DNImodified) To sort out the need for development. Improve the system. And 7 experts to assess the suitability. Phase 4) Evaluation of the implementation of the learning management supervision through Teacher Coaching-Mentoring with Supervisor. The systematic evaluation was used by interviewing 12 stakeholders. Research results were as follows : 1. The Component of Learning Management Supervision through Teacher Coaching-Mentoring with Supervisor Consisted of Input consisted of 1) Objective of supervision 2) Person of supervision 3) Method of supervision 4) Knowledge of academic 5) Supervision instrument. 6) Evaluation. 2. The current situation and expectation of the learning management supervision through teacher coaching-mentoring with supervisors as a whole moderately level and expectation overall as high level. 3. The Learning Management Supervision system through Teacher Coaching-Mentoring with supervisor consisted of Input consisted of 1) Objective of supervision 2) Person of supervision 3) Knowledge of academic 4) Supervision instrument. Process consisted of supervision mythology consisted of 1) Preparation 2) Analysis 3) Goal setting 4) Function 5) Practice 6) Communication and 7) Reflective and Evaluation and Output consisted 1. Knowledge and understanding in supervision of learning management and 2. Knowledge ability to supervise learning management. 4. The implementing of Learning Management Supervision system through Teacher Coaching-Mentoring was found that the sample group has more knowledge 22.60 percentages and Stakeholder has ability satisfied at the highest level.
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ 3) เพื่อพัฒนาระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ 4) เพื่อประเมินผลการใช้ระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ การดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูของและประเมินองค์ประกอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูของศึกษานิเทศก์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 291 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 3 พัฒนาระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ โดยวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (DNImodified) การศึกษาวิธีปฏิบัติที่ดีด้านการนิเทศ (Best Practice) ยกร่างระบบ และดำเนินการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อยืนยันและประเมินระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 4 ประเมินผลการนำระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ไปใช้ โดยการประเมินความรู้ความเข้าใจของศึกษานิเทศก์ผู้ร่วมวิจัยจำนวน 6 คนซึ่งได้มาโดยการสมัครใจ และประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการสมัครใจ ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูของศึกษานิเทศก์ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายการนิเทศ 2) บุคลากรนิเทศ 3) วิธีนิเทศ 4) ความรู้วิชาการ 5) เครื่องมือนิเทศ และ 6) การประเมินผล ประเมินองค์ประกอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ พบว่า สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก 3. ระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ประกอบด้วย ด้านปัจจัย (Input) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายการนิเทศ 2) บุคลากรนิเทศ 3) ความรู้วิชาการ 4) เครื่องมือนิเทศด้านกระบวนการ (Process) ประกอบด้วย วิธีนิเทศ ซึ่งประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การเตรียม 2) การวิเคราะห์ 3) ตั้งเป้าหมาย 4) กำหนดบทบาท 5) การฝึกปฏิบัติ 6) การสื่อสาร 7) การสรุปและสะท้อนผล ด้านผลผลิต (Output) ประกอบด้วย 1) ความรู้ความเข้าใจในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ของศึกษานิเทศก์ ผลการประเมินระบบการนิเทศฯมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการนำระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์ไปใช้ พบว่า ศึกษานิเทศก์ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครู หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.60 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อความสามารถในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูสำหรับศึกษานิเทศก์อยู่ในระดับมากที่สุด 
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/284
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010561016.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.