Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/285
Title: Social Cognitive Theory – Base Physical Activity Promotion Intervention on Worker’ Health-Related Physical Fitness, Stress and Efficiency in Industrial Workers
โปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมที่มีต่อสุขสมรรถนะ ความเครียดและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม 
Authors: Nanthawan Thienkaew
นันทวัน เทียนแก้ว
Chairat Choosakul
ชัยรัตน์ ชูสกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาสังคม, สุขสมรรถนะ, ความเครียดและประสิทธิภาพการทำงาน
A Social Cognitive Theory-Base Physical Activity Promotion Intervention (PA-SCT)
Health-related physical fitness
Stress
Work efficiency
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this research was to develop a physical activity promotion program by Social Cognitive Theory of the industrial workers. The samples of research in phase 1 were 286 workers and phase 3 were 50 workers, all workers are in Mahasarakham Province. The research tool is a Social Cognitive Theory-base physical activity promotion intervention, Fitness test, stress and work efficiency evaluation form. The statistical analysis for compare before and after was Wilcoxon Signed Rank Test, that calculated in the program. The results of a Social Cognitive Theory-base physical activity promotion intervention is suitable for a good level and the content validity was 0.73. After using the program, the average of skinfold thickness is lower than before using the program with statistical significance at the level of .01 in the relatively thin criteria. And the strength of the arm and hand muscles were higher than before using the program with statistical significance at the level of .01 in the low to medium criteria. As for the cardio-respiratory systems, the mean after using the program was lower than before with statistical significance at the level of .05 in the low criteria. The strength and endurance of leg muscles and the flexibility before and after using the program were not significantly different at the level of .01 and .05. The stress and work efficiency were not significantly. The overall satisfaction of the program is at a moderate level and the assessment of the program is appropriate, which some activity in the program such as inviting friends to do physical activities after work can’t do it because of work is late and there is a need for leaders who specialize in physical activity.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ตัวอย่างในการวิจัยระยะที่ 1 พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จ.มหาสารคาม จำนวน 286 คน ระยะที่ 3 จำนวน 50 คน เครื่องมือวิจัยคือ โปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม แบบทดสอบสุขสมรรถนะ แบบประเมินความเครียดและแบบประเมินประสิทธิภาพการทำงาน สถิติที่ใช้เปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้โปรแกรมของรายการสุขสมรรถนะ ความเครียดและประสิทธิภาพการทำงาน ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test คำนวณในโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.73 หลังใช้โปรแกรมคะแนนเฉลี่ยความหนาของไขมันใต้ผิวหนังต่ำกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างผอม และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและมือมีค่าเฉลี่ยหลังใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในเกณฑ์ต่ำถึงปานกลาง ส่วนความทนทานของระบบหัวใจและระบบหายใจมีค่าเฉลี่ยหลังการใช้โปรแกรมต่ำกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อขาและความอ่อนตัวก่อนและหลังใช้โปรแกรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ความเครียดและประสิทธิภาพการทำงานไม่แตกต่างกัน ความพึงพอใจของโปรแกรมภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ภาพรวมการประเมินโปรแกรมมีความเหมาะสมระดับดี โดยบางกิจกรรมในโปรแกรม เช่น การชวนเพื่อนมาทำกิจกรรมทางกายหลังเลิกงานไม่สามารถทำได้เพราะเลิกงานก็ดึกแล้ว และมีความต้องการผู้นำที่เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมทางกาย
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/285
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010565002.pdf16.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.