Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2857
Title: | Program for Enhance Curriculum Administration and Learning Management Competencies for Science Teachers in Small Size Schools under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 |
Authors: | Chayada Nilraksa ชญาดา นิลรักษา Songsak Phusee - orn ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน Mahasarakham University Songsak Phusee - orn ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน songsak.p@msu.ac.th songsak.p@msu.ac.th |
Keywords: | การพัฒนาโปรแกรม สมรรถนะครู สมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ Developing Program Teacher’s Potential Teacher’s Potential in Curriculum and Learning Management |
Issue Date: | 2 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of the research were 1) investigate the current situation, desired conditions, and necessary requirements for enhancing the competencies in curriculum management and learning management for science teachers in small size schools under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 2) Develop a program for enhance curriculum administration and learning management competencies for science teachers in small size schools under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1. The research is divided into two phases : phase 1 studies the current situation, desired conditions, and necessary requirements for enhancing competencies, while phase 2 involves developing the enhancement program. The research sample for phase 1 consists of 206 science teachers in small size schools under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1, using the technique of Stratified Random Sampling. The research tools include questionnaires. For Phase 2, the program is developed based on the findings from document study, textbooks and 8 informants from 3 small size schools with best practices and provided by 5 qualified educational experts selected through purposive sampling. The research tools include an assessment of program suitability and feasibility, and statistical analyses involve percentages, means, and standard deviations.
The research results concluded that
1. The current competency level in curriculum management and learning management for science teachers in small educational institutions under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1, is overall at a moderate level, with the desired competency level being the highest.
2. Competency program of curriculum administration and learning management for science teachers in small educational institutions under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 is comprised of five modules: module 1 focuses on curriculum development, module 2 on instructional design, module 3 on learner-centered learning management, module 4 on using and developing innovative media and technology, and module 5 on measuring and evaluating learning outcomes. The methods for enhancing teacher competencies, including training, field visits, self-learning, seminars, and mentoring, are found to be highly suitable and feasible. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาสตร์ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านงานสอนวิชากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1 จำนวน 206 คน ได้มาโดยใช้เทคนิควิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ได้จากการศึกษาเอกสาร ตำรา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 8 คน จาก 3 สถานศึกษาขนาดเล็กที่มีแนวทางการปฏิบัติที่ดีและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปว่า 1. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีการพัฒนา 5) การประเมินผล มี 5 Module คือ Module 1 การสร้างและพัฒนาหลักสูตร Module 2 การออกแบบการเรียนรู้ Module 3 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ Module 4 การใช้และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และModule 5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยมีวิธีการเสริมสร้างและพัฒนาสมรรถนะครู คือ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสัมมนา การนิเทศ โดยโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2857 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
65010581013.pdf | 5.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.