Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/286
Title: Development of Learning Management Based on Theory of Multiple Intelligences Combined with Cooperative Learning Approach, to Achievement , Enhance Analytic Thinking  and Achievement Motivationof Prathomsuksa 2 Students.  
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 
Authors: Sarinrat Peasupam
ศรินรัตน์ เพียสุพรรณ
Apinyawat Phosan
อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ทฤษฎีพหุปัญญา
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
พัฒนาการจัดการเรียนรู้
Theory of Multiple Intelligence
Cooperative Learning
develop learning management
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were : 1)  to develop learning management based on applied of the  multiple intelligences  theory and cooperative learning approach in mathematics learning for Prathomsuksa 2 students, with the required efficiency of 75/75,  2) to study for the effectiveness index of learning management based on applied of the  multiple intelligences  theory and cooperative learning approach in mathematics learning, 3)  to study on the progress of the students’ achievement, analytical thinking  and  achievement motivation who learned  based on applied of the  multiple intelligences  theory and cooperative learning approach between before and after learning. Which operated on Research and Development methodology  with three phases for this study. The research sample was group of 27 students in Prathomsuksa 2 level, which was obtained using purposive sampling. The research methodology was provided based on action research for three spirals, which composed of 4 activities in each spiral those were, planning stage, action stage, observation stage, and reflection stage. The instruments used for this research consisted of : 1)  instructional plans for mathematics learning based on constructivist theory, entitled quadrilateral content with 8 plans and taken 16 hours for learning, 2) the 20 item test for learning achievement, and  3) the 20 item test for mathematical reasoning ability. The statistics used for analysis data were percentage, mean, standard deviation, and nalyzed qualitative data with narrative presentation. The results of this study were as : 1. The development of learning management based on constructivist theory to enhance learning achievement and mathematical reasoning for Prathomsuksa 2 students were enhanced on construction of new knowledge by using preliminary information to create the new concept in problem solving with strategy for individual learning, which was the approach that provided in this study. Whereas learning process for target group of students consisted of five steps and those were: 1) the engagement step,  2) the solution finding step,  3) the conclusion step,  4) the practicing step, and  5) the evaluation step. 2. The learning activity based on Constructivist theory, entitled quadrilateral content for Prathomsuksa 2 level, revealed the efficiency of 84.56/76.85, which higher than the established criterion of 75/75, and had the effectiveness index of 0.3842, that identified the students had learning progress of 38.42 percentage. 3. The development of learning achievement and mathematical reasoning ability of students who learned based on constructivist theory through action research were found that, the students had the post learning achievement and mathematical reasoning ability at average of 38.42 or the percentage of 84.56/76.85, which higher than the established criterion of 75 percent.     
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ การเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือวิชาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญา ประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ระคน ชั้นประถมศึกษาปีที 2 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถการคิดวิเคราะห์   และ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D)  รวม 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นในระยะที่ 3 ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่1)แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 แผน ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวมเวลา 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การบวก  ลบ คูณหารระคน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ  3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครอบคลุมมิติการคิด 3 ด้าน ได้แก่ การคิดวิเคราะห์เนื้อหา  การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์  การคิดวิเคราะห์หลักการ  เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อและ 4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3  อันดับ ที่บ่งชี้พฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test  (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่   2  มีประสิทธิภาพ  84.56/76.85  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  2  มีค่าเท่ากับ  0.3842  ตามลำดับ 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญาประกอบกลุ่มร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  การคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/286
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010580023.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.