Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2864
Title: | Program for Proactive Teaching Competency Enhancement in using Boardgames for Social Studies Teachers under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 3 โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้บอร์ดเกม สำหรับครูผู้จัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 |
Authors: | Theerawut Sreemungkla ธีระวุฒิ ศรีมังคละ Tharinthorn Namwan ธรินธร นามวรรณ Mahasarakham University Tharinthorn Namwan ธรินธร นามวรรณ tharinthorn.n@msu.ac.th tharinthorn.n@msu.ac.th |
Keywords: | โปรแกรมเสริมสร้าง สมรรถนะ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก บอร์ดเกม สังคมศึกษา Enhancement Program Competency Proactive Teaching Boardgames Social Studies |
Issue Date: | 30 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aimed 1) to study a current condition, a desirable condition, and the need for using boardgames in proactive teaching for the social studies teachers under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 3 and 2) to design and develop the program for proactive teaching competency enhancement in using boardgames for the social studies teachers under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 3. The sample group was consisted of 263 social studies teachers under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 3. The research was performed in 2 phases as follows. Phase 1: The current condition, the desirable condition, and the need for using boardgames in proactive teaching for the social studies teachers under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 3 were studied and, there were 5 experts to approve research equipment. The research tool was a questionnaire. The statistics used in the quantitative data analysis were mean and standard deviation. Phrase 2: The design and development of program for proactive teaching competency enhancement in using boardgames for social studies teachers under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 3 was studied. There were 5 specialists to assess the program. The research tool an appropriateness and feasibility evaluation scale. The statistics used in the quantitative data analysis were mean and standard deviation.
The results were as follows:
The current conditions of using boardgames in proactive teaching for the social studies teachers under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 3 was overall at moderate level. The desirable condition of using boardgames in proactive teaching for the social studies teachers under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 3 was overall at utmost level. Program for proactive teaching competency enhancement in using boardgames for social studies teachers under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 3 consisted of 3 components: 1) principle, 2) purpose and, 3) content, consisting of 4 modules, namely, 1) The design to use boardgames in proactive teaching, 2) conducting proactive learning by using boardgames, 3) The usage and development of boardgames in proactive teaching and, 4) the learning evaluation of using boardgames in proactive teaching. Moreover, the results of assessing the appropriateness and feasibility of the program were at high level. การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกม สำหรับครูผู้จัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 และ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้บอร์ดเกม สำหรับครูผู้จัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้จัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 จำนวน 263 คน งานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกม สำหรับครูผู้จัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 โดยมีผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้บอร์ดเกม สำหรับครูผู้จัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปรแกรม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของสภาพปัจจุบันของสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้บอร์ดเกม สำหรับครูผู้จัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 อยู่ในระดับปานกลาง ภาพรวมของสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้บอร์ดเกม โดยองค์ประกอบของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้บอร์ดเกม สำหรับครูผู้จัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ 2) จุดประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย Module 1 การออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้บอร์ดเกม Module 2 การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้บอร์ดเกม Module 3 การใช้และพัฒนาสื่อบอร์ดเกมการเรียนรู้เชิงรุก Module 4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เชิงรุกจากการใช้บอร์ดเกม 4) วิธีดำเนินการ และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2864 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
65010581029.pdf | 10.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.