Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2879
Title: Program for Active Learning Management Development for Thai Language Teachers Under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2
โปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
Authors: Atchariya Sriku
อัจฉริยา ศรีกุ
Songsak Phusee - orn
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน
Mahasarakham University
Songsak Phusee - orn
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน
songsak.p@msu.ac.th
songsak.p@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทย
Program Development
Proactive Learning Management for Thai Language Teachers
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to study a current condition, a desirable condition, and the need for developing active learning management for Thai language teachers under the office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2 and 2) to develop the program for active learning management development for Thai language teachers under the office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2. The research was performed in 2 phases as follows. Phase 1: The current condition, the desirable condition, and the need for developing active learning management for Thai language teachers under the office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2 were studied.  The sample group included 184 Thai language teachers under the office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2.The research tool was a set of questionnaires. The analytical statistics were percentage, means, standard deviation, and PNI modified. Phrase 2:Developing the program for active learning management development for Thai language teachers under the office of Mahasarakham Primary Educational Service Area The interviewees contained 3 school administrators, 3 Thai language teachers from the best practice schools, and 5 specialists, picked by purposive sampling. The research instruments were the structured interview form, and suitability and feasibility evaluation scale. The analytical statistics were percentage, mean, and standard deviation. The results were as follows: 1. The active learning management for Thai language teachers under the Office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2 in current condition was overall at a moderate level. The desirable condition was overall at the highest level, and the priority need index of those was in order from high to low, namely, learning design, employing media and technology in learning management, learning management through cognition and practice, and learning assessment.               2. Program for active learning management development for Thai language teachers under the office of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2 comprised of 1) principle 2) purpose 3) content,  including 4 modules: module 1 Learning Design, module 2 Learning Management through Cognition and Practice, module 3 Employing Media and Technology in Learning Management, and module 4 Learning Assessment, 4) the ways to develop including self-study, training, and field trip study, and 5) assessment and evaluation. The program was assessed at high suitability and feasibility.
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2  2) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทยในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2  การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนผู้สอนภาษาไทยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครูภาษาไทย จำนวน 3 คน จากสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดีและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปรแกรม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ในสภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนสภาพ ที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด  และลำดับความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การออกแบบการเรียนรู้ การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามลำดับ 2. โปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ประกอบด้วย 1) หลักการ  2) จุดประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย 4 Module ได้แก่ Module 1 การออกแบบการเรียนรู้ Module 2 การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติ  Module 3 การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และ Module 4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4) วิธีการพัฒนา ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การฝึกอบรม  การศึกษาดูงาน และ 5) การวัดและประเมินผล ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับ มากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2879
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65010581067.pdf7.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.