Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2884
Title: | The Development of Reading Pronunciation Ability of Students
Prathomsuksa 2 through Brain-Based Learning Strategies
and Reading Pronunciation การพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับ แบบฝึกการอ่านออกเสียง |
Authors: | Pawitra Thipnet ปวิตรา ทิพย์เนตร Montree Wongsaphan มนตรี วงษ์สะพาน Mahasarakham University Montree Wongsaphan มนตรี วงษ์สะพาน montree.v@msu.ac.th montree.v@msu.ac.th |
Keywords: | การอ่านออกเสียง การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน Reading Aloud Through Brain-Based Learning Activities |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this research were : to improve the reading aloud abilities of grade 2 students by using brain-based learning arrangements combined with reading aloud exercises to pass the 75%. The target group was 15 students in grade 2/6 students, semester 2nd, academic Year 2023, Nong Saeng Sub-district, Wapi Pathum District, Maha Sarakham Province, under the Maha Sakham Primary Educational Service Area Office 2. The research tools are: 1) 8 learning management plans for the development of reading of Pratomsuksa 2 students through Brain-Based learning activities with reading aloud exercises, 2 hours each, total 16 hours. 2) The read-aloud assessment consists of 2 parts: part 1 is read aloud with a total of 20 words with 2 copies, and part 2 is 3 multiple-choice with 5 questions and 2 copies. 3) pronunciation assessment 4) Interview. This research uses action research (AR) model by using development action in 2 cycles. The statistics used to for data with percentage, mean, standard deviation. and present the data by analyzing description.
The results of the study were as follows:
Prathomsuksa 2 students learning by brain-based learning activities with reading aloud exercises are the subject of reading words with spelling not in accordance with the section. There are details of each cycle as follows. The development process in the 1st round has 6 sudents who passed the criteria on average of 71.05 and did not pass the criteria of 9 students. The development process in the 2nd round has 15 students who passed the criteria on average of 90.92.
In summary, the learning activity based on brain-based learning activities with reading aloud exercises can develop students’ ability to read with better spelling of the section. Therefore, should encourage teachers to apply this teaching technique to teaching and learning activities in other content and other levels. การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกการอ่านออกเสียงให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 จำนวน 15 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเมืองวาปีปทุม ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัด มหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสาคาม เขต 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกการอ่านออกเสียง จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง จำนวน 16 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถการอ่านออกเสียง มีทั้งหมด 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 อ่านออกเสียงคำมีทั้งหมดจำนวน 20 คำ มีจำนวน 2 ฉบับ และตอนที่ 2 เป็นแบบปรนัย 3 ตัว เลือก จำนวน 5 ข้อ มีจำนวน 2 ฉบับ 3) แบบประเมินความสามารถในการอ่านออกเสียง 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research : AR) แบ่งออกเป็น 2 วงรอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกการอ่านออกเสียง เรื่อง การอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยมีรายละเอียดแต่ละวงรอบ ดังนี้ วงจรปฏิบัติการวงรอบที่ 1 นักเรียนมีความสามารถการอ่านออกเสียง โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 71.05 มีนักเรียน จำนวน 6 คน ผ่านตามเกณฑ์ และมีนักเรียน จำนวน 9 คน ที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์ และวงจรปฏิบัติการวงรอบที่ 2 นักเรียนมีความสามารถการอ่านออกเสียงโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 90.92 มีนักเรียนจำนวน 15 คน ผ่านตามเกณฑ์ตามที่ตั้งไว้ได้ทุกคน โดยสรุป การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกการอ่านออกเสียง สามารถพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราได้ดีขึ้น จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาอื่นและระดับชั้นอื่นต่อไป |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2884 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
65010588010.pdf | 9.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.