Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2885
Title: The Development Learning Activities by Polya Processes to Mathematics Problem Solving Ability on Topic of Fraction using for Pratrom 4 Students
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Authors: Chanikan Phonchaliao
ชนิกานต์ โพนเฉลียว
Yada Thadanatthaphak
ญดา ธาดาณัฐภักดิ์
Mahasarakham University
Yada Thadanatthaphak
ญดา ธาดาณัฐภักดิ์
thanarat.s@msu.ac.th
thanarat.s@msu.ac.th
Keywords: การแก้ปัญหาของโพลยา
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
Polya's Solution
Ability to Solve Mathematical Problems
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) To develop learning management by solving Polya's problems with the ability to solve mathematical problems effectively according to the criteria 70/70. 2) To compare organized learning by Polya's problem-solving affects his ability to solve mathematical problems about fractions for Matthayomsuksa 4 students the criteria of 70 percent. 3) To study the satisfaction of Matthayomsuksa 4 students with the effect on learning management by Solving Polya's problems with the ability to solve mathematical problems regarding fractions. The sample used in this study was students who are studying in Matthayomsuksa 4, Semester 2, Academic Year 2023, Klang Muang Songkhro School, Mueang Kalasin District, Kalasin Province, consisting ofv8 people, obtained by cluster random sampling in the classroom with similar abilities. The tools used in the research include 1) Learning management plans about Fractions of Matthayomsuksa 4 students by using a learning management model based on Polya's concept, a total of 10 plans,10 hours. 2) Mathematics problem-solving ability test about Fractions by using a test to measure your ability to solve subjective problems, 10 questions, 3) the questionnaire on student satisfaction with learning mathematics by using the learning management model according to Polya's concept is a 5-level rating scale with 10 items that the researcher developed which analyzes data by percentage, mean, and standard deviation by One-Shot Case Study. The results were as follows: 1. Learning management of Polya's problem-solving influences the ability to solve mathematical problems. It has efficiency according to the 75/79.58. 2. Learning management of Polya's problem-solving influences the ability to solve mathematical problems. The fractions for Matthayomsuksa 4 students at 79.58 the criteria of 70 percent. 3. The Satisfaction of Matthayomsuksa 4 students affect learning management solving the problem of Polya's influence on the ability to solve mathematical problems regarding fractions was overall at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพ 70/70 2. เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ การแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เทียบเกณฑ์ร้อยละ 70 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้ การแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนกลางหมื่นสงเคราะห์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นห้องเรียนมีความสามารถใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 10 แผน จำนวน 10 ชั่วโมง 2. แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา แบบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบ One-Shot Case Study     ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้ การแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 75/79.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. การจัดการเรียนรู้ การแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 79.58 เทียบเกณฑ์ร้อยละ 70 3. ความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้ การแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2885
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65010588024.pdf5.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.