Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/291
Title: THE DEVELOPMENT WEB-BASED ALONG THE CONSTRUCTIVIST THEORY TO ENCOURAGE ANALYTICAL THINKING SKILL ON COMPUTER IN EVERYDAY LIFE OF MATTHAYOMSUKSA 1 STUDENTS.
การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Phatchayada Phomson
ภัชญาดา  พรมศร
Ratasa Lousurayotin
รัฐสาน์ เลาหสุรโยธิน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: บทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ทักษะการคิดวิเคราะห์
web – based along the constructivist theory
constructivist theory
analytical thinking skill.
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were to 1) develop the web – based along the constructivist theory to encourage analytical thinking skill on computer in everyday life of mathayomsuksa1 students with required efficiency of 80/80 2) to study effectiveness index of develop the web – based Instruction along the constructivist theory by researcher 3) to compare learning achievement after learning with web based on constructivist theory and regular classes 4) to compare learning analytical skills after learning with web based on constructivist theory and regular classes   5) to study students' satisfaction with web-based instruction based on constructivist theory. The samples for this study were: MathayomSuksa 1 Students in the first semester of the academic year 2017, from watsratong municipal School, Muang District, Roi Et Province with cluster random sampling. MathayomSuksa 1/1 students amount 40 persons are experimental group and MathayomSuksa 1/2  students amount 40 persons are control group. The research instruments included were: 1) web - based lesson on constructivist theory: computer in everyday life in career and technology learning 2) knowledge management plan of mathayomSuksa1 unit 1 which has 4 knowledge management plan 3) the objective study achievement test of students who are study with web – based along the constructivist theory : computer in everyday life amount 1 issue in the from of 4 alternative multiple choice test with 30 items 4) the analytical thinking test with 30 items 5) Study the satisfaction for web based lesson based on constructivist theory on computer in everyday life with rating scale 5 level with 10 items. The statistics used for analysis in data analysis include: mean, standard deviation, percentages, standard deviation, and for test hypothesis the t – test (Dependent Samples).            The result of this research found as the follows ;            1. The developed the web – based along the constructivist theory to encourage analytical thinking skill on computer in everyday life of mathayomSuksa1 had an efficiency of 81.15/82.50              2. The Effectiveness Index of the developed the web – based along the constructivist theory to Encourage Analytical Thinking skill on computer in everyday life of MathayomSuksa1. Developed by the researcher was 0.7286  showing that the learner progressed their leaning was 72.86  percent.            3. The students who study through web – based along the constructivist theory on computer in everyday life has an achievement of student higher than students who study through traditional instruction with the statistical significance .05            4. The students who study through web – based along the constructivist theory on computer in everyday life has an analytical thinking skill higher than students who study through traditional instruction with the statistical significance .05            5. The students ‘satisfaction towards web – based along the constructivist theory on computer in everyday life of Mathayomsuksa1 Students overall was at high level (x̄ = 4.11, S.D. = 0.77) it was found that their satisfaction was at high level on the layout lesson on the web and students enjoy learning web-based lessons (x̄= 4.42, S.D. = 0.86).            In conclusion, web – based along the Constructivist Theory to Encourage analytical thinking skill on computer in everyday life of mathayomsuksa1 students had appropriately efficiency and effectiveness. As a results students achievement and had analytical thinking skill higher. Therefore should encourage teachers to apply in teaching and learning activities.  
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาบทเรียนบทเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการเรียนแบบปกติ 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการเรียนแบบปกติ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนบทเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 และกลุ่มควบคุม ได้แก่ กลุ่มที่เรียนแบบปกติ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) บทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีแผนการเรียนรู้ทั้งหมด 4 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดและทฤษฎีของ Bloom เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ  5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t – test (Dependent Samples)           ผลการวิจัยปรากฏดังนี้              1. บทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.15/82.50              2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของบนเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ0.7286  ซึ่งเท่ากับบทเรียนบทเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 72.86               3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน มีคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05              4. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบทเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน มีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05              5. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄= 4.11, S.D. = 0.77) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักเรียนที่เรียนบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่ 1 รูปแบบการจัดวางบทเรียนบนเว็บมีความน่าสนใจ และข้อที่ 7 นักเรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนบทเรียนบนเว็บ มีค่าคะเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.42, S.D. = 0.86)           โดยสรุป บทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ และส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์และมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่สูงขึ้น จึงควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนประยุกต์ไปใช้กับการเรียนการสอนรายวิชาอื่นๆต่อไป  
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/291
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010581064.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.