Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/292
Title: Participatory  Action  Research   for  Developing  the  Classroom  Research  Competencies  of  Teachers  in  Non-formal  and  Informal Education  Center  at  Huai  Mek,  Kalasin
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้วยเม็ก  จังหวัดกาฬสินธุ์
Authors: Jatupoom Kularsar
จตุภูมิ  กุลาสา
Tatsirin Sawangboon
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
สมรรถนะ
Participatory Action Research
Competencies
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:           The objective of this study was to develop classroom  research competencies of teachers in non-formal and informal education center at Huai Mek, kalasin by using participatory action research so as to teachers are able to know, understand and conduct classroom action research in 5 steps comprising defining research topic, drafting research proposal, conducting research, analyzing data, and writing research report based on participatory action research (PAR). The samples of this study were researchers and co-researchers who were the teachers belong to Office of the Basic Education Commission at non-formal and informal education center at Huai Mek, kalasin. The samples were selected for 8 persons by purposive sampling. The instruments in order to collect data consisted of test, observation form, interview form, supervision record form, research proposal evaluation form, and progress report in classroom action research evaluation form. The data were collected, analyzed, and reported by descriptive analysis.     The results revealed that:       1. The development of knowing and understanding competencies. Teachers knew and understood better about classroom action research. The posttest scores of developing classroom research competencies test were higher than the pretest, which calculated into percentage as 26.25.       2. The development of affective domain competencies. Teachers were aware of importance of classroom action research. Principle in applying the theory of classroom action research can be used in teacher’s teaching and learning by conducting research paper.       3. The development of practical skills competencies. Teachers were skillful in conducting classroom action research and improved in writing research report more accurately and followed the 5 steps of conducting classroom action research. In conclusion, developing classroom action research of teachers by using participatory action research caused teachers to have competencies to conduct classroom action research. The competencies comprised of comprising knowing and understanding, positive attitudes towards classroom action research, and the ability to conduct classroom action research according to 5 steps of conducting classroom action research. The results can apply as a guideline to support in developing teachers’ competencies in conducting classroom action research in accordance with creating learning activity continuously in order to have sustainable learning development.
การวิจัยในครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ ตามกระบวนการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ การกำหนดปัญหาการวิจัย  การจัดทำเค้าโครงการวิจัย การดำเนินการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนรายงานการวิจัย โดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research : PAR) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้วิจัยและกลุ่มผู้ร่วมวิจัย เป็นครูที่ปฏิบัติการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน  9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการนิเทศ แบบประเมินเค้าโครงการวิจัย และแบบประเมินรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน การตรวจสอบข้อมูลยึดหลักการตรวจสอบข้อมูลและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้      1.  การพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้ความเข้าใจ  ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนมากขึ้น  โดยมีคะแนนทดสอบหลังการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มขึ้นจากการทดสอบก่อนการพัฒนาสมรรถนะ คิดเป็นร้อยละ  26.25          2.  การพัฒนาสมรรถนะด้านจิตวิจัย  ครูมีความตระหนักถึงความสำคัญในการทำวิจัยในชั้นเรียน  มีหลักการแนวคิดในการนำทฤษฎีเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนในชั้นเรียนไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูด้วยการผลิตงานวิจัยในชั้นเรียน       3.  การพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะปฏิบัติ  ครูเกิดทักษะในการทำวิจัยในชั้นเรียน  สามารถปรับปรุง  และพัฒนาการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนได้ถูกต้องตามขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน ทั้ง 5 ขั้นตอน      โดยสรุป การพัฒนาสมรรถนะในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำให้ครูมีสมรรถนะในการทำวิจัยในชั้นเรียน ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ เจตคติที่ดีต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน และสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนตามกระบวนการวิจัย 5 ขั้นตอนได้ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้มีการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนต่อไป
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/292
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010584005.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.