Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/294
Title: DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT METHOD TO ENHANCE MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING ABILITIES OF MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS.
การพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: Piyatip Donladlee
ปิยะทิพย์  ดอนลาดลี
Yannapat Sihamongkhon
ญาณภัทร สีหะมงคล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: วิธีการจัดการเรียนรู้
การแก้ปัญหาทางปัญหาทางคณิตศาสตร์
Learning management method
Mathematical problem solving
Issue Date:  5
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of the research were 1) to study problems and methods of developing mathematical problem solving abilities of Mathayomsuksa 3 students 2) to develop learning management method and enhance mathematical problem solving abilities of Mathayomsuksa 3 students 3) to study the results and evaluate the method of learning management for development of mathematical problem solving abilities of Mathayomsuksa 3 students ; 3.1) to compare mathematical problem solving abilities before and after using the method of learning management 3.2) to compare mathematical problem solving abilities of Mathayomsuksa 3 students between using the method of learning management to enhance mathematical problem solving abilities with normal learning method 3.3) to study the satisfaction of students toward methods of learning management to enhance mathematical problem solving abilities. There were 3 stages of research and development. The samples were 88 Mathayomsuksa 3 students of Phonthongpattanawittaya School, Phonthong District, Roi et Province enrolled in the first semester of 2017 academic year, using cluster random sampling. The research instruments were lesson plans, mathematical problem solving abilities test with a difficulty value ranging .34 - .73, a discrimination value ranging .29 - .93, a reliability value .09 and satisfaction test with a discrimination value ranging .49 - .76, a reliability value .91. Statistics used were percentage, mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The results of the study were as follows; 1. The problem solutions about students who lacked of mathematical problems solving abilities, resulting in low mathematical achievement were; providing various learning activities by concentrating on participation in the activities, focusing on solving problems by themselves, and enhancing students to solve problems in a systematic way by steps. 2. The methods of learning management to enhance mathematical problems solving abilities of Mathayomsuksa 3 students was the learning management based on constructivist theory and solving problem processes of Polya’s, included 5 steps; reviewing knowledge and introduction, teaching new contents, practice, wrap-up, and knowledge applying . 3. The results of using the learning management to enhance students’ abilities about solving mathematical problems of Mathayomsuksa 3 students were;      3.1 Post-test scores of the students who were taught by using the method of learning management to enhance students’ mathematical problem solving abilities of grade 9 students was higher than pre-test scores, statistically significant at .05 level. The post-test scores average on mathematical problem solving ability was higher than pre-test scores.      3.2 The abilities about mathematical problems solving of students wholearned by using the methods of learning management to enhance mathematical problems solving abilities was higher than normal learning method, significant at the level of .05 and the average of post-test scores on mathematical problem solving abilities of students who learned by using the methods of learning management to enhance mathematical problems solving abilities was higher than the post-test scores average of students who learned by using normal method.      3.3 The satisfaction of students who learned by using the methods of learningmanagement to enhance mathematical problem solving abilities was the highest level
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  2) เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  3) เพื่อศึกษาผลการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้  3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3.3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์     โดยมีกระบวนการวิจัยและพัฒนา  3 ระยะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 88 คน จากห้องเรียน 2 ห้อง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ .34 ถึง .73 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .29 ถึง .93 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .90 และแบบวัดความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนก  ตั้งแต่ .49 ถึง .78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .93  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t – test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)     ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ปัญหาที่พบ คือ นักเรียนไม่สามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำ ส่วนแนวทางในการแก้ปัญหา ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรม มุ่งเน้นให้นักเรียนแก้ปัญหาด้วยตนเองและส่งเสริมให้นักเรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมีลำดับขั้นตอน 2. วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นทบทวนความรู้เดิม/นำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอนเนื้อหาใหม่ ขั้นฝึกทักษะ ขั้นสรุป และขั้นนำความรู้ไปใช้ 3. ผลการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้       3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    3.2 นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05    3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด 
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/294
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010584015.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.