Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/322
Title: The Development of Guideline to Promote Scientific Literacy for  International Student Assesment : PISA
การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์  ตามแนวทางการประเมินผล นักเรียนนานาชาติ (PISA)
Authors: Jirawat Tochalee
จิระวัฒน์ โต๊ะชาลี
Sombat Tayraukham
สมบัติ ท้ายเรือคำ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ตัวบ่งชี้
การส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์
ตามแนวทางการประเมินผล PISA
ครูผู้สอน
Indicator
Promote Scientific Literacy Literacy
Development The Programme for International Student Assessment (PISA)Development The Programme for International Student Assessment (PISA)
teachers
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to: 1) to develop indicators to Promote Scientific Literacy Literacy in PISA 2) to develop of guidelines to Promote Scientific Literacy Literacy in PISA. The samples were divided into 3 groups: group1 are 5 experts by purposive sampling, group2 are 3 experts by purposive sampling Service Area Office Used in the Exploratory Factor Analysis: EFA 600 people and Used in the Confirmatory Factor Analysis: CFA 1,020 people random by Multistage Random Sampling. Group 3 are 9 experts that who support and Promote Scientific Literacy Literacy. The research instruments were: 1) a Semi – structured Interview form 2) Science teacher High School Grade 1, Academic Year 2017 Under the Office of the Basic Education Commission The North East. The content validity (IOC) is 0.67 to 1.00; the computer program.         The discriminative power is 0.346 to 0.803, the reliability is 0.952 for data analysis by basic statistical analysis Exploratory Factor Analysis (EFA) and Confirmatory Factor Analysis (CFA) using a findings indicated that the analysis model elements the promoting indicators of Reading Literacy in PISA and 5 in the 28 indicators were positive, with values ranging from 0.765 to 0.943 with a statistical significance level 01. The factor loading is sorted descending by the weight of the sort from high to low is to provide Learning Resources, Teaching Strategies, Measurement and Evaluation, Media Innovation and Technology and Teaching Activities. The factor loading 0.941, 0.895, 0.875, 0.861 and 0.766 respectively with the index measure level of integration between models with empirical data. The chi – square value = 654.26 , Degree of Freedom (df) = 345 , Relative chi – square (chi – square /df) = 1.89, GFI =0.958, AGFI = 0.951, CFI = 0.998, SRMR= 0.0536, RMSEA=0.030, indicating that the model has validity. The result of the promoting guidelines of reading literacy in data indicate that 5 components of Guidelines which are Media Innovation and Technology, Learning Resources, Measurement and Evaluation, Teaching Strategies, Teaching Activities
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ตามแนวทางการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์    ตามแนวทางการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญหลักสูตรและการสอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) จำนวน 600 คน และใช้วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) จำนวน 1,020 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling ) กลุ่มที่3 ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง      2) แบบสอบถามการส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ตามแนวทางการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA)   ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) เท่ากับ 0.67 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.346 ถึง 0.803 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.952 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ(Exploratory Factor Analysis: EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและวิเคราะห์เนื้อหา   ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบตัวบ่งชี้การส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ตามแนวทางการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) ทั้ง 5 ด้าน 28 ตัวบ่งชี้มีค่าเป็นบวก ตั้งแต่ 0.765 ถึง 0.943 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ   ด้านการจัดแหล่งเรียนรู้ ด้านกลยุทธ์การสอน ด้านการวัดละประเมินผล ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยี       ด้านการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.941, 0.895, 0.875, 0.861 และ 0.766 ตามลำดับ มีดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่าไค-สแควร์ (chi – square) เท่ากับ 654.26 ที่ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 345 ค่าค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ chi – square /df ) = 1.89 ค่า GFI = 0.958 ค่า AGFI = 0.951 ค่า CFI = 0.998 ค่า SRMR = 0.0536 RMSEA = 0.030 แสดงว่าโมเดลมีความตรงเชิงโครงสร้าง  2. ผลการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมประกอบด้วยการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ตามแนวทางการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) มีทั้งหมด 5 แนวทางได้แก่ การใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี, การจัดแหล่งเรียนรู้,      การวัดละประเมินผล ,กลยุทธ์การสอน, การจัดกิจกรรมเสริมการเรียน
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/322
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57030581002.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.