Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/325
Title: The Development Instructional Supervision Model for Language Development of Early Childhood Children
การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย
Authors: Jirapha Thamnamsin
จิระภา ธรรมนำศีล
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนารูปแบบการนิเทศ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
Instructional Supervision Model
Language Development Early Childhood Children
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research 1) To study the component indicators of supervisory managements for Language development of early childhood children. 2) To develop a model of supervisory for Language development of early childhood children. 3) To study the effect of the use of the supervision model using the supervisory managements for Language development of early childhood children by the research process and development, divided into 3 phases: Phase 1. Study components and indicators of the supervisory managements for Language development of early childhood children. The study and analysis of components consists of synthesis related documents and research, in-depth interviews and study of Best Practices schools, by selecting indicators specific target groups (Purposive Sampling). Using tools are synthetic documents and interview forms. Phase 2. Development, of instructional supervision model for language development of early childhood children by checking the quality, suitability, feasibility and usefulness of the supervision model developed by specialist references seminar (Connoisseur ship). The instruments used as a check and confirm draft of the developed supervision model. Phase 3. Evaluation of the use of the development Instructional Supervision model for Language development of early childhood children. This is the study of the implementation of the supervision model developed for Ban Nong Kham Somboon School which is the target group by purposive sampling with an indication and is an overview of the use of the supervision model that developed. The statistics for data analysis including percentage, mean and standard deviation. The results are as follows. 1. Components and indicators of the supervision model to manage learning experiences and prepare language readiness of pre school children can be divided into 6 main components, 16 sub-components and 37 indicators, including 1) Plan of operation consists of 4 sub-components, 8 indicators. 2) Creating an inviting relationship (Invitational for Building Trust) consists of 2 sub-components, 4 indicators. 3) Encourage to support the work goal consists of 3 sub-components, 6 indicators. 4) Blend into practice (action) consists of 3 sub-components, 8 indicators. 5) Reflection consists of 2 sub-components, 6 indicators. and 6) Increase the value of the assessment thoroughly (Evaluation) consists of 2 sub-components, 5 indicators which can be a form of PIEARE supervision model. 2. The PIE ARE supervision model to arrange learning experiences and prepare language readiness of early childhood children is appropriate , possibilities and benefits are at the highest level (X̄= 4.52) 3. The results of the use of the PIE ARE supervision model to arrange learning experiences and prepare language readiness of early childhood children as developed are: 1) Learning results from workshops (Training) found that participants developed knowledge and understanding about supervision arranged learning experiences, development of learning experiences developed passed the evaluation criteria all, post-development score is higher than before development. 2) On the job training results that affect the ability of instructors. The overall picture is a good standard (X̄=2.63) and affects the ability of the supervisor. The overall picture shows a very good level (X̄=4.51) and 3) The result of the use of the PIE ARE supervision model to arrange learning experiences and prepare language readiness of early childhood children in the development of both instructors and supervisors (Self-regulation) from a 360-degree assessment. The overall picture is in a very standard (X̄=4.53) The PIE ARE supervision model to arrange learning experiences and prepare language readiness of early childhood children is based on the systematic work principles, build trust, generosity, inviting leaders, support appropriate media and technology and participation of all confederate. Until creating a collaborative culture in developing learning experiences, resulting in early childhood children being ready for language development that connects to higher intelligence levels in the next period.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัดการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย และ 3) เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัยไปใช้ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย เป็นการศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศโดยมีวิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงและมีข้อบ่งชี้ในการคัดเลือก เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย ด้วยการตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสม ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นโดยการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบและยืนยันร่างรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย เป็นการศึกษาผลการนำรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับโรงเรียนบ้านหนองขามสมบูรณ์ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ได้มาแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบบมีข้อบ่งชี้ และเป็นการสรุปภาพรวมของการใช้รูปแบบการนิเทศที่พัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของรูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมภาษาของเด็กปฐมวัย แบ่งได้ 6 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย 37 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านวางแผนการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย 8 ตัวชี้วัด 2) ด้านสร้างความสัมพันธ์แบบเชิญชวน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย 4 ตัวชี้วัด 3) ด้านหนุนนำ สนับสนุนให้สำเร็จในงาน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย 6 ตัวชี้วัด 4) ผสมผสานสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย 8 ตัวชี้วัด 5) ชี้ชัดสะท้อนคิด ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย 6 ตัวชี้วัดและ 6) เพิ่มคุณค่าการประเมินอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย 5 ตัวชี้วัด 2. รูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมภาษาของเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (X̄ = 4.52) 3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัยพัฒนาขึ้นสรุปผล ดังนี้      3.1 ผลการเรียนรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ผู้ร่วมพัฒนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน ซึ่งมีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา      3.2 ผลการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกับผู้อื่น ที่ส่งผลต่อความสามารถของผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับ ดี (X̄ = 2.63) และส่งผลถึงความสามารถของผู้นิเทศ ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก (X̄ = 4.51)      3.3 ผลของการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการพัฒนาตัวตนทั้งของครูผู้สอนและผู้นิเทศ จากการประเมินแบบ 360 องศา ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก (X̄ = 4.53) รูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น ตั้งอยู่บนหลักการ การทำงานอย่างเป็นระบบ สร้างความไว้วางใจ เอื้ออาทร ผู้นำแบบเชิญชวน สนับสนุนสื่อและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จนเกิดวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันในการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมด้านภาษาที่พัฒนาเชื่อมต่อถึงระดับสติปัญญาที่สูงขึ้นในลำดับต่อไป
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/325
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010566001.pdf6.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.