Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/329
Title: The Development of Inquiry in Science with Graphic Organizers Techniqueto Promote Analytical Thinking for Prathomsuksa 5 Students
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: Chatchai Sopachuen
ฉัตรชัย โสภาชื่น
Somsong Sitti
สมทรง สิทธิ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้
เทคนิคผังกราฟิก
การคิดวิเคราะห์
Inquiry in Science
Graphic Organizers Technique
Analytical Thinking
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This purposes of this research were 1) to Development of Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique to Promote Analytical Thinking. 2) to study the outcome of compare of Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique to Promote Analytical Thinking were to: 2.1) compare analytical thing ability by using Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique with criterion 70%, 2.2) compare an achievement of Force and Motion with criterion 75%, 2.3) compare an analytical thinking abilities of students using Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique to Promote Analytical Thinking and those who conventional learning approaches, and 2.4) compare an achievements abilities of students using Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique to Promote Analytical Thinking and those who conventional learning approaches. The study consisted of 3 phase as follows: Phase 1: to study of fundamental data, Phase 2: to develop of Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique to Promote Analytical Thinking and Phase 3: to study of result on implementing of Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique. The sample used in this study consisted of Prathomsuksa 5 students 2 classes in 2nd semester of academic year 2017. The experimental group were Nasinaulsoksaiwittaya school 19 students using Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique and the other experimental group were Noonphakeawwijitwittaya school 19 students learning by convention learning approaches. They were selected using the cluster random sampling technique. The research tools were: 1) the Learning Management Plan by using the Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique, 15 plan, 2) the Analytical Ability Test, and 3) the Learning Achievement Test. The data were analyzed by means of percentage, arithmetic means, standard deviation, one sample t-test and t-test (Independent)  The research findings were found that: 1) The Development of Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique to Promote Analytical Thinking that were including 5 steps; the attention, Introduction, Question, Investigation, Presentation and Conclusion. 2) The results after using Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique to Promote Analytical Thinking were including: 2.1) the students’ analytical thinking ability was higher than the 70% criteria at the .05 level significance, 2.2) the students’ achievement was higher than the 75% criteria at the .05 level significance, 2.3) the students who learning Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique had higher analytical thinking abilities than those who conventional learning approaches of activities at the .05 level significance. and 2.4) the students who learning Inquiry in Science with Graphic Organizers Technique had higher learning achievement than those who conventional leaning approaches of activities at the .05 level significance.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค ผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วย 2.1) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์หลังเรียนกับ เกณฑ์ร้อยละ 70 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 2.3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกกับที่เรียนแบบปกติ และ 2.4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ เทคนิคผังกราฟิกกับที่เรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 ห้องเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 กลุ่มเครือข่ายเพัฒนาการศึกษาสหัสขันธ์ก้าวหน้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 โดยกำหนดเป็นกลุ่มทดลองคือนักเรียน โรงเรียนนาสีนวลโสกทรายวิทยา จำนวน 19 คน กลุ่มควบคุมคือนักเรียนโรงเรียนโนนป่างิ้ววิจิตวิทยา จำนวน 19 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก จำนวน 15 แผน มีคุณภาพระดับ เหมาะสมมากที่สุด 2) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก(p) ตั้งแต่ 0.24-0.71 ค่าอำนาจจำแนก(r) รายข้อ ตั้งแต่ 0.48-0.77 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.24-0.74 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ One Sample t-test และ t-test (Independent)  ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเกริ่นนำ ขั้นถามตอบ ขั้นสอบสวนสืบค้น ขั้นนำเสนอ และขั้นสรุป 2) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า 2.1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกมีการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 2.2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกมีการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.4) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบ ปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุป การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขั้นตอนชัดเจน เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนใช้การคิดวิเคราะห์ในการจัดทำผังกราฟิกต่างๆ และส่งเสริมให้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์นำวิธีการนี้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในทุกระดับชั้นต่อไป   
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/329
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010585003.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.