Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/34
Title: | The Developing of a Program for Teacher Development in Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary Schools Students under the Office of Basic Education Commission การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริม ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Authors: | Sarawut Sonjai ศราวุฒิ สนใจ Suwat Junsuwan สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | โปรแกรม การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ Program Mathematics Learning Management Analytical Thinking |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this study were to 1) investigate elements and indicators of Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission, 2) examine current conditions and desirable conditions for Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission, 3) study the methodology for teacher development in Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission, 4) develop the program for teacher development in Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission, 5) examine the outcomes of the implementation of the program for teacher development in Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission. The research and development methodology consisted of 5 phrases as follow: Phrase 1 investigating of the elements and indicators of Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission using content analysis, in-depth interview, and evaluation by expert to yield the data verification Phrase 2 examining of the current conditions and desirable conditions for Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission with the example group which were secondary school teachers Phrase 3 studying of the methodology for teacher development in Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission using content analysis strategy and in-depth interview Phrase 4 developing of the program for teacher development in Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission which was evaluated by experts Phrase 5 the implementation of the program for teacher development in Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission The author reviewed concepts and theories concerning Mathematics Learning Management, Processes and Skills of Analytical Thinking; and analyzed current conditions and desirable conditions for Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary Schools Students under the Office of Basic Education Commission, using questionnaire with the sample, received by Multi-stage random sampling technique, consisting of 519 mathematics teachers under the Office of Basic Education Commission. The research applied purposive sampling technique to select sample group which consisted of 30 mathematics teachers under Surin Education Service Area Office 33. The instruments used for gathering data were evaluation form, questionnaire and interview. The statistics used for analyzing the collected data were mean, percentage, standard deviation (S.D.), Cronbach’s Alpha method, Pearson’s Simple Correlation Coefficient, Modified Priority Needs Index (PNI modified), and Independent t-test.
The research results were as follow:
1. The 4 elements and 11 indicators of Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary Schools Students were 1) Teaching preparation, 2) Teaching process, 3) Assessment and Evaluation, and 4) Conclusion and Report.
2. The results of the examining of the current conditions for Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary Schools Students were at average level, and the desirable conditions for Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary Schools Students were at the highest level, descending from Teaching process, Teaching preparation, Assessment and Evaluation, and Conclusion and Report; respectively.
3. The appropriate methodology for teacher development in Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary Schools Students under the Office of Basic Education Commission were 1) a participatory workshop, 2) and real working practices, and 3) following-up by coaching and mentoring.
4. The program for teacher development in Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission comprised of the main elements as follow: 4.1 Goal and importance of the program 4.2 Objective of the program 4.3 Content of the program which consisted of 4 modules; Module 1 the teaching preparation Module 2 the teaching process Module 3 the assessment and evaluation Module 4 the conclusion and report 4.4 The developing of the program consisted of 3 parts which were: Part 1 the implementation of the self-access learning practices and workshop Part 2 the mentoring and coaching Part 3 the real working practices 4.5 The Assessment and evaluation of the program The program employed 180 hours and was evaluated by 7 experts. The results of the evaluation was at high level which signified the program’s appropriateness, possibility, and usefulness; and accordance with the objectives of the study.
5. The results of examining the outcomes of the implementation of the developing of a program for teacher development in Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students under the Office of Basic Education Commission were as follow: 5.1 The training participants’ mathematics teaching process post-test score was higher than the pre-test score with the significant at .01; and all the participants passed the set standard at 80 percent. 5.2 The over-all performance of the training participants was at the very-good level; and was over 75 percent. 5.3 The self-evaluation and peer evaluation after training on Mathematics Learning Management to Promote Analytical Thinking Skills in Secondary School Students was significantly higher at the .01 level. 5.4 The satisfaction level of the training participants was at the highest level. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5) เพื่อศึกษาผลการนำโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประเมินความเหมาะสมเพื่อยืนยันองค์ประกอบ ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา ระยะที่ 3 ศึกษาวิธีการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 4 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 5 การนำโปรแกรมการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนคณิตศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 519 คน และนำโปรแกรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายการพัฒนา ซึ่งเป็นครูผู้สอนคณิตศาสตร์ สหวิทยาเขต 2 สิรินธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI modified) และ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มี 4 องค์ประกอบ และ 11 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การเตรียมการเรียนการสอน 2) การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ และ 4) การสรุปและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ 2. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การเตรียมการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ และการสรุปและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ 3. วิธีการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 3 วิธีการที่เหมาะสม คือ 1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การเรียนรู้จากปฏิบัติจริงตามบทบาทหน้าที่ และ 3) วิธีการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง 4. โปรแกรมการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบของโปรแกรม คือ 4.1 ความมุ่งหมายและความสำคัญของโปรแกรม 4.2 วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 4.3 เนื้อหาของโปรแกรม โดยเนื้อหาสาระของโปรแกรมประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่ โมดูล 1 การเตรียมการเรียนการสอน โมดูล 2 การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โมดูล 3 การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ โมดูล 4 การสรุปและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ 4.4. กระบวนการและกิจกรรมของโปรแกรม มีกระบวนการพัฒนา 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การใช้ชุดฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเองและการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่วนที่ 2 การสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง ส่วนที่ 3 การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ 4.5 การวัดและประเมินผลโปรแกรม โดยกระบวนการในการพัฒนา ใช้เวลา 180 ชั่วโมง ดำเนินการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยโปรแกรมมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนา 5. ผลการประเมินจากการนำโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ ปรากฏดังนี้ 5.1 ผู้เข้ารับการพัฒนามีคะแนนความรู้ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน หลังพัฒนาสูงกว่าคะแนนก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน 5.2 ผลการประเมินกิจกรรมระหว่างการพัฒนาของผู้เข้ารับการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ทุกคน 5.3 ผลการประเมินระดับการปฏิบัติของครูผู้เข้ารับการพัฒนา โดยบุคคลอื่นและโดยตนเอง พบว่า ผลการประเมินระดับการปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังการพัฒนาสูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5.4 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด |
Description: | Doctor of Education (Ed.D.) การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/34 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58010560010.pdf | 14.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.