Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/340
Title: Development of the Teacher Development Program on Learning Organization for the Teachers in the Science Learning Strand under the Office of Secondary Education Service Area 28  
การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
Authors: Ruckmanee Sansawek
รักษ์มณี สารเสวก
Suracha Amornpan
สุรชา อมรพันธุ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาโปรแกรมครู
การจัดการเรียนรู้
Teacher Development Program
Learning Organization
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research aimed to 1) study the components of the learning organization of the teachers in the Science Learning Strand under the Office of Secondary Education Service Area 28; 2) study the current state, the desirable state and methods of learning organization enhancement of the teachers in the Science Learning Strand under the Office of Secondary Education Service Area 28; 3) develop a teacher development program on learning organization of the teachers in the Science Learning Strand under the Office of Secondary Education Service Area 28. The research was divided into 3 phases: Phase 1 dealt with the study of the components and indicators of the learning organization on analytical thinking of the teachers. The target group consisted of 5 certified scholars who were purposively sampled. The target group was to examine the suitability of the components of the learning organization of the teachers. Phase 2 dealt with the study of the current state, the desirable state and the methods of learning organization enhancement of the teachers. Obtained through stratified random sampling, the target group consisted of 129 academic head teachers and science teachers under the Office of Secondary Education Service Area 28. Phase 3 dealt with the development of the teacher development program on learning organization of the teachers in the Science Learning Strand under the Office of Secondary Education Service Area 28. The group of certified scholars comprised 5 school administrators and deputy administrators for academic affairs, who were purposively sampled. The instruments used in data collection were a 5-level rating scale questionnaire, inquiring the current state and the desirable state, having the discrimination of 0.33 - 0.73, and the total reliability of 0.82, and a suitability assessment form for the program. The statstics employed in the analysis of data were the mean and standard deviation. The results are as follows: 1. The components of the learning organization of the teachers in the Science Learning Strand under the Office of Secondary Education Service Area 28 were on 5 aspects. They were: 1) the aspect of integration of analytical skill practice on the content in the learning strand; 2) the aspect of learning organization design; 3) the aspect of using the teaching model and technique; 4) the aspect of medium and innovation development; and 5) the aspect of learning measurement and evaluation. The results of the evaluation on the components of the learning organization of the teachers in the Science Learning Strand indicated that all of the components had their suitability between 0.80 and 1.00. 2. The study on the current state of the learning organization of the teachers in the Science Learning Strand, on the whole and by aspect, on every aspect, was at a moderate level. For the desirable state of the learning organization of the teachers in the Science Learning Strand, on the whole and on every aspect, it was at a high level. 3. The teacher development program on learning organization of the teachers in the Science Learning Strand had the following components: principles, objectives, content, method of development, and evaluation. In order to develop the teachers in the Science Learning Strand on learning organization, the researcher had designed the program content by emphasizing the content with the top priorities of the index of need. They were: the aspect of using teaching model and technique, the aspect of learning measurement and evaluation, the aspect of learning design, The aspect of integration of learning skill practice, and the aspect of medium and innovation development, respectively. The methods of development were training, using the mentoring system, and supervision, with knowledge assessment before and after the training, and with an assessment on the satisfaction of the participants. The results of the assessment on the teacher development program on learning organization in the Science Learning Strand by the certified scholars revealed the suitability at a high level.
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 3) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ของครู กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 คน ทำการตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ของครู ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 129 คน ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้บริหารและรองผู้บริหารฝ่ายวิชาการ ได้มาโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33–0.73 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และแบบประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28  มีองค์ประกอบจำนวน 5 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านการบูรณาการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์เนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านการใช้รูปแบบและเทคนิควิธีการสอน 4) ด้านการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมและ 5) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า ทั้งทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง 0.80-1.00 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3. โปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีองค์ประกอบดังนี้คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการพัฒนา และการประเมินผล เพื่อพัฒนาครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ออกแบบเนื้อหาของโปรแกรมโดยเน้นเนื้อหาตามค่าดัชนีความต้องการจำเป็นที่มีความต้องการอันดับแรก คือ ด้านการใช้รูปแบบและเทคนิควิธีการสอน ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการออกแบบการเรียนรู้ ด้านการบูรณาการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์เนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาสื่อและนวัตกรรม ตามลำดับ วิธีการพัฒนาคือ การฝึกอบรม การใช้ระบบพี่เลี้ยง และการนิเทศ โดยมีกิจกรรมการประเมินความรู้ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมและการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรม ผลการประเมินโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/340
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010586030.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.