Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/343
Title: Developing  Classroom  Research  Development  Program  for  Teacher  in Schools  under  the  Office  of  Nakhonratchasima  Primary  Education Service  Area  Office  4 
การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 
Authors: Tunvarat Samranmark
ธัญวรัตน์ สำราญมาก
Pachoen Kidrakarn
เผชิญ กิจระการ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การวิจัยในชั้นเรียน
โปรแกรมพัฒนาครู
Classroom Research
Teacher Development Program
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aimed to 1) Investigate the indicators of components of teacher’s classroom research in shools under the office of Nakhonratchasima primary education service area office 4, 2) Study the current state and desirable state of teacher’s classroom research development, 3) Developing classroom research development program for teacher. This research and development divided into 3 phases, the first phase was to assessment the indicators of components of teacher’s classroom research, the evaluation form using by 5 luminaries, the second phase was study the current state and desirable state of teacher’s classroom research development, 317 teachers sample by stratified random sampling method, used questionnaire for collect data, the third phase was assessment suitability and possibility of the program, the evaluation form using by 5 luminaries. Descriptive statistics used in this study were Index of Item – Objective Congruence, mainly percentage, average, standard devision, Pearson product-moment correlation coefficient, Cronbach alpha coefficient and modified priority needs index (PNI). The study were found:                                                                                        1. The 5 components of teacher’s classroom research were 1) survey and problem analysis, 2) research planning, 3) research implementation, 4) data collection, and 5) data analysis and summary. The components suitability assessment were at high level.                                                     2. The current state of teacher’s classroom research development overall at low level, the desirable state of teacher’s classroom research development overall at highest level. The priority needs index (PNI) of teacher’s classroom research development 3 sequences sort by ascending descending were data analysis and summary, survey and problems analysis, and research planning. Teacher’s classroom research development have 4 methods including training, study visit, self learning and focus on practice.                                                    3. The classroom research development program for teacher in schools under the office of Nakhonratchasima primary education service area office 4 including: 1) The source and importance of the program, 2) Objectives, 3) Target audiences 4) Content, 5) Implementation, and 6) Evaluation. The classroom research development program suitability assessment overall at highest level and possibility assessment overall at highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ วิธีการพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนซึ่งป็นการวิจัยและพัฒนา ดําเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประเมินองค์ประกอบ ของวิจัยในชั้นเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ วิธีการพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 317 คน ใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์แอลฟาและค่าดัชนีความต้องการจําเป็น  (PNI)  ผลการวิจัยพบว่า                                                       1. องค์ประกอบของวิจัยในชั้นเรียน มีจำนวน 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหา 2) การวางแผนการวิจัย 3) การดำเนินการวิจัย 4) การรวบรวมข้อมูลและ 5) การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล มีความเหมาะสมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก                2. สภาพปัจจุบันของการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยรวมอยู่ในระดับน้อย สภาพที่พึงประสงค์ของการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น (PNI) ในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNI) จากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ คือ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ด้านการสำรวจและวิเคราะห์ปัญหา และด้านการวางแผนการวิจัย ตามลำดับ วิธีการพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน ใช้วิธีการพัฒนา 4 วิธี ได้แก่ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเน้นการปฏิบัติ                3. โปรแกรมพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 มีส่วนประกอบดังนี้ 1) ที่มาและความสำคัญของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ 3) กลุ่มเป้าหมาย 4) เนื้อหา 5) การดำเนินการ และ 6) การประเมินผล การประเมินโปรแกรมพัฒนาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านความเหมาะสมอยู่ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้ของโปรแกรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/343
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010586041.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.