Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/345
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorThongmuan Yothachaien
dc.contributorทองม้วน  โยธชัยth
dc.contributor.advisorPaiboon Limmaneeen
dc.contributor.advisorไพบูลย์ ลิ้มมณีth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2019-10-02T07:29:18Z-
dc.date.available2019-10-02T07:29:18Z-
dc.date.issued6/11/2018
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/345-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThis research is intended 1) to study the elements and indicators for a program of developing teacher of Child Centered Learning under Secondary Education Service Area Office 21 2) to study the current conditions, desirable condition and the way to develop teacher in Child Centered Learning under Secondary Education Service Area Office 21 3) to study A program of developing teacher to develop Teacher Development in School Child Centered Learning under Secondary Education Service Area Office 21 The research consisted into 3 phrases; phase 1)studying the elements and indicators of Child Centered Learning by 5 experts selected through the purposive sampling by using evaluation form. Phase 2) to study the necessary and a program for developing teacher to the population sample groups were 327 teachers consisted of 85 people in small school, 90 people in medium school, 82 people in large school and 70 people in the extra school under Secondary Education Service Area Office 21 selected through the stratified random sampling technique. The instruments for collected data were the questionnaires and phases 3) developing Program to Enhance Child Centered Learning under Secondary Education Service Area Office 21. The evaluation by 5 experts selected through the purposive sampling, the instruments were evaluation form on appropriateness and possibility. The statistics for analyses the data included the Index of consistency: IOC, mean, percentage, standard deviation, Pearson correlation coefficient, Cronbach's alpha coefficient, And the priority need of index PNI (Modified). The results of research revealed the following:                                1. The study elements and indicators of Child Centered Learning under Secondary Education Service Area Office 21 consist of 5 elements such as 1. the way to do the data base of instructional design of Child Centered Learning 2. Model learning by coaching and technique to develop the students 3. Encouraged the competencies of learner and desired characteristic by using the active-learning 4) learning by workplace 5) workshop.                                               2. The current condition of teacher about Child Centered Learning overall are the high level. The desirable condition of principles of teacher about Child Centered Learning overall in highest level.                                                                  3. A program of developing teacher in School Child Centered Learning under Secondary Education Service Area Office 21.                                               3.1 Sequence requirement of developing teacher in School Child Centered Learning. To order by average to descending such as Model learning by coaching and technique. To develop the students by The process of learning for happiness learning. To encouraged the competencies of learner and desired characteristic by using the active-learning. And using technology local knowledge. To do the data base of instructional design by Child Centered Learning.                                          3.2 A program of developing teacher in School Child Centered Learning under Secondary Education Service Area Office 21 the workshop, seminar and training is the method to developing teacher.                                                                                   3.3 The result of properly assessment to act in keeping with codes of possible enriching proficiency for A program of developing teacher in School Child Centered Learning under Secondary Education Service Area Office 21 is found that the keeping, suitability, possibility, the beneficial and concordance in the high level.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นและวิธีการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 3) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 การวิจัยและพัฒนา มี 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลซึ่งตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน ระยะที่ 2 การศึกษาความต้องการจำเป็นและวิธีการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามขนาดของโรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ประกอบด้วย ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 327 คน โดยแยกเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 85 คน โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 90 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 82 คน และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 70 คน และระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลซึ่งทำหน้าที่ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า                1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 มีองค์ประกอบ จำนวน 5 ด้าน คือ 1) การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) การใช้รูปแบบและเทคนิควิธีการสอนอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปลูกฝัง และส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะของผู้เรียน 4) การจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขและพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ 5) การใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนในการจัดการเรียนรู้                                                                           2. สภาพปัจจุบันของครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด                                                                                                                          3. โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21                                                                      3.1 ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการใช้รูปแบบและเทคนิควิธีการสอนอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ด้านการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปลูกฝังและส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะของผู้เรียน ด้านการใช้สื่อเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลำดับ                                                                                                                               3.2 โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ใช้วิธีการพัฒนาครู คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงานและการฝึกอบรม/สัมมนา                                                                                                                      3.3 ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ของโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectโปรแกรมพัฒนาครูth
dc.subjectการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญth
dc.subjectTeacher Development Programen
dc.subjectChild Centered Learningen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleA program of developing teacher  in School Child Centered  Learning under Secondary Education Service Area Office 21.en
dc.titleโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58030580005.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.